ผลการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียของสารสกัดใบพลูต่อเชื้อสเตร็พโตค็อคคัส มิวแทนส์

Main Article Content

ณลิตา ไพบูลย์
ปาริชาติ อ้นองอาจ
กัมปนาท คำสุข
ภรณ์ทิพย์ ชัยสว่าง
วราภรณ์ มหาทรัพย์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลของสารสกัดใบพลูต่อการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ สเตร็พโตค็อคคัสมิวแทนส์สายพันธุ์ ATCC25175T (S.mutans) โดยการหาค่าความเข้มข้นต่ำสุดในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ S.mutans ซึ่งเป็นสาเหตุของฟันผุโดยการนำใบพลูมาสกัดด้วย 95% เอทานอล หาค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดใบพลูที่สามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ด้วยวิธีการเจือจางแบบ 2-Fold serial dilution และทดสอบผลของสารสกัดต่อการลดของ pH จากเชื้อ S.mutans ด้วยวิธี Glycolytic pH drop ผลการศึกษา พบว่าค่าความเข้มข้นต่ำสุดของสารสกัดใบพลูที่สามารถยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้คือ 1.56 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร และผลการศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากใบพลูที่มีผลต่อกลไกการก่อโรคฟันผุของเชื้อ S.mutans โดยการทดสอบผลของสารสกัดต่อการลดลงของค่าความเป็นกรด - ด่าง (ค่า pH) ของเชื้อ S.mutans ด้วยวิธี Glycolytic pH drop ผลการทดสอบปรากฏว่าความเข้มข้น 0.10 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร มีอัตราการลดลงของ pH เหลือเพียง 0.023 หน่วยต่อนาที ซึ่งเป็นอัตราการลดลงของ pH ที่ดีที่สุด ดังนั้นสารสกัดเอทานอลของใบพลูสามารถแสดงฤทธิ์ต้านเชื้อ S.mutans และสามารถป้องกันฟันผุได้ เพราะฉะนั้นสามารถนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ป้องกันฟันผุได้ต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ