สหสัมพันธ์ของจำนวนผู้ป่วยโรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ

Main Article Content

วัฒนา ชยธวัช
0000-0002-3547-667X
ศุภรัศมิ์ อัศวพรธนภัทร์
จันทนา ปราการสมุทร
ขนิษฐา นาคเกลี้ยง

บทคัดย่อ

โรคอ้วนเกิดขึ้นเมื่อมีปริมาณไขมันในร่างกายที่มากเกินไป อาจก่อให้เกิดโรคและปัญหาสุขภาพอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ การศึกษาสหสัมพันธ์ข้อมูลอนุกรมเวลาจำนวนผู้ป่วยในสี่โรคจากข้อมูลสถิติผู้ป่วยในของประเทศไทยจากสรุปรายงานการป่วยของกระทรวงสาธารณสุขตั้งแต่ พ.ศ. 2564 ย้อนไป พ.ศ. 2555 จำนวน 10 ปี พบว่าเมื่อวิเคราะห์โดยใช้สหสัมพันธ์สเปียร์แมนของจำนวนผู้ป่วยในโรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับจำนวนผู้ป่วยในโรคเบาหวาน และกับจำนวนผู้ป่วยในโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.964 (p-value < .001) และ 0.952 (p-value < .001) ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยในโรคเบาหวานและจำนวนผู้ป่วยในโรคความดันโลหิตสูงมีสหสัมพันธ์สเปียร์แมนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.998 (p-value < .001) ส่วนจำนวนผู้ป่วยในโรคหัวใจกับจำนวนผู้ป่วยในโรคอ้วน จำนวนผู้ป่วยในโรคเบาหวาน และจำนวนผู้ป่วยในโรคความดันโลหิตสูง มีสหสัมพันธ์กันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าสถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน เท่ากับ -0.442 (p-value = 0.204 ) -0.370 (p-value = 0.296) และ -0.394 (p-value = 0.263) ตามลำดับกล่าวได้ว่าจำนวนผู้ป่วยในโรคอ้วนมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับจำนวนผู้ป่วยในโรคเบาหวาน และจำนวนผู้ป่วยในโรคความดันโลหิตสูง

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biography

วัฒนา ชยธวัช, คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

-