การศึกษาเบื้องต้นการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนปฐมภูมิด้วยยาธาตุบรรจบและยาประสะกะเพรา

Main Article Content

เมธาวี กลิ่นกุหลาบทอง
วัฒนา ชยธวัช
ศุภรัศมิ์ อัศวพรธนภัทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาเบื้องต้นการบรรเทาอาการปวดประจำเดือนปฐมภูมิด้วยยาธาตุบรรจบและยาประสะกะเพรา เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental study) อาสาสมัครเป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีอาการปวดประจำเดือน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลอาการปวดประจำเดือน ข้อมูลส่วนบุคคล ประวัติการมีประจำเดือน ลักษณะอาการปวดประจำเดือน (MSQ : Menstrual Symptom Questionnaire) และการประเมินอาการปวดประจำเดือนก่อนและหลังการรับประทานยาโดยใช้ NRS: Numerical Rating Scale ผลการศึกษา พบว่า อาสาสมัครมีอายุ 18 ปี (ร้อยละ 86.67) ส่วนใหญ่มีประจำเดือนครั้งแรก อายุ 11 ปี (ร้อยละ 36.67) เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ร้อยละ 90) ลักษณะอาการปวดประจำเดือนแบบ Spasmodic ร้อยละ 56.67 คือ ปวดหลัง ปวดท้อง และปวดขาด้านในและมีลักษณะอาการปวดประจำเดือนแบบ Congestive ร้อยละ 43.33 คือ รู้สึกหงุดหงิด กระสับกระส่าย ใจร้อน ก่อนมีประจำเดือน และมี เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอาการปวดประจำเดือนก่อนและหลังรับประทานยาธาตุบรรจบและยาประสะกะเพรา พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) โดยค่าเฉลี่ยอาการปวดประจำเดือนก่อนรับประทานยาธาตุบรรจบและยาประสะกะเพราอยู่ในระดับปวดเล็กน้อย (x̄ = 5.93, S.D. = 2.00) และหลังรับประทานยาอยู่ในระดับไม่ปวดเลย (x̄  = 1.8, S.D.= 1.65) ดังนั้นผู้ที่มีอาการปวดประจำเดือนจึงสามารถใช้ยาธาตุบรรจบและยาประสะกะเพราบรรเทาอาการปวดประจำเดือนได้ด้วยความมั่นใจ และเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ