การศึกษาภูมิปัญญาการนวดขิดเส้นพื้นบ้านอีสาน: กรณีศึกษานายณรงค์ สิทธิสงคราม

Main Article Content

กัญจนภรณ์ ธงทอง
นันทิกานต์ พิลาวัลย์
เขมมิกา คำแปล
กนกพร ลีละครจันทร์
เพชรรัตน์ รัตนชมภู
ศิรินทิพย์ พรมเสนสา
ปภาภัสสร์ ธีระพัฒนวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารวบรวมและวิเคราะห์กระบวนการรักษาโรคด้วยภูมิปัญญาการนวดพื้นบ้านอีสานด้านการนวดขิดเส้นของ นายณรงค์ สิทธิสงคราม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่มีการรักษามาตั้งแต่อดีต โดยการสั่งสมประสบการณ์และถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการถามตอบ เก็บข้อมูลโดยการสังเกตและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและตรวจสอบข้อมูลจากเอกสารและแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือ


จากการวิจัยพบว่า ภูมิปัญญาการนวดขิดเส้นของนายณรงค์ สิทธิสงคราม ได้รับการสืบทอดมาจากมารดา ที่ถ่ายทอดองค์ความรู้จนเกิดเป็นประสบการณ์ จนเกิดเป็นความชำนาญในการรักษา โดยมีทั้งหมด 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การนวดพื้นฐาน คือ การคลายกล้ามเนื้อในบริเวณที่อาการตึง จม และตีบ 2) การขิดเส้น คือ การใช้นิ้วหัวแม่มือ ส้นมือ ปลายศอก และส้นเท้า ในการเขี่ย ผลัก ขยับเส้น และ 3) การยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำหลังการรักษาเพื่อช่วยในการปรับสมดุลให้ร่างกาย นายณรงค์ สิทธิสงคราม มีกระบวนในการรักษาโรค/อาการด้วยเทคนิคการนวดขิดเส้น ทั้งหมด 6 อาการ ได้แก่ ไมเกรน ไหล่ติด สะบักจม สลักเพชร ข้อเท้าแพลง จับโปงน้ำเข่าและจับโปงแห้งเข่า


เมื่อวิเคราะห์กระบวนการรักษาด้วยวิธีการนวดขิดเส้น พบว่า มีจุดและแนวเส้นสัมพันธ์กับการนวดไทยแบบราชสำนัก การนวดไทยเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (เชลยศักดิ์) ด้วยการผสมผสานความรู้ในด้านการนวดขิดเส้นที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ จนเกิดเป็นเทคนิคเฉพาะตัวและทำการรักษามาจนถึงปัจจุบัน

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ