ผลของกรรมวิธีการแปรรูปหญ้ารีแพร์ต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวม และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

Main Article Content

ยลดา ศรีเศรษฐ์
กาญจนาพร พรมโสภา
ทัณฑิกา แก้วสูงเนิน
วรินท์ โอนอ่อน
จรินยา ขุนทะวาด
ฉัตรชนก นุกูลกิจ

บทคัดย่อ

หญ้ารีแพร์หรือหญ้าฮียุ่มเป็นพืชที่มีประวัติการใช้ในทางการแพทย์แผนไทยเนื่องด้วยคุณสมบัติช่วยฟื้นฟูและช่วยบำรุงผิวพรรณและร่างกายโดยวิธีการใช้ตามโบราณมีทั้งการใช้ภายนอกและการต้มรับประทานอย่างไรก็ตามยังไม่มีการศึกษามาก่อนว่าการแปรรูปหญ้ารีแพร์ด้วยวิธีที่แตกต่างกันก่อนนำมาใช้งานให้ปริมาณสารพฤกษเคมีและฤทธิ์ทางชีวภาพแตกต่างกันหรือไม่ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการนำหญ้ารีแพร์มาแปรรูปด้วยกรรมวิธีที่แตกต่างกัน จำนวน 4 แบบ ได้แก่ การผึ่งลม การอบแห้ง การย่างไฟ และการคั่ว จากนั้นศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS ผลการศึกษาพบว่าหญ้ารีแพร์ที่แปรรูปด้วยวิธีผึ่งลม อบแห้ง ย่างไฟ และคั่ว มีปริมาณฟีนอลิกเทียบเท่ากับกรดแกลลิก 22.07±8.10, 28.50±2.86, 92.12±5.33 และ 121.39±2.57µg (µg GAE/g dry weight) ตามลำดับ ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH มีค่าความเข้มข้นของสารสกัดที่ยับยั้งอนุมูลอิสระได้ 50% (the half maximal inhibitory concentration; IC50)เท่ากับ 167.47±21.58, 122.47±8.73, 78.81±13.75 และ 62.63±8.33 mg/ml ตามลำดับ และวิธี ABTS มีค่า IC50 เท่ากับ 375.33±69.93, 238.50±16.57,115.19±4.26 และ 113.69±7.86 mg/ml ตามลำดับผลการศึกษาพบว่าหญ้ารีแพร์ที่แปรรูปด้วยวิธีการคั่วมีปริมาณกลุ่มฟีนอลิกที่สูงกว่าและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระที่แรงกว่าการเตรียมรูปแบบอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกเพื่อส่งเสริมสุขภาพในอนาคต

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ