การรักษาอาการผิดสำแดงในหญิงหลังคลอดของหมอพื้นบ้านในจังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

สุชาวดี โต๊ะนาค
ถวัลย์ ฤกษ์งาม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ความรู้และภูมิหลังของหมอพื้นบ้าน เกี่ยวกับการรักษาอาการผิดสำแดงในหญิงหลังคลอดในจังหวัดสุรินทร์ 2) เพื่อศึกษารูปแบบและขั้นตอนการรักษาอาการผิดสำแดงในหญิงหลังคลอดของหมอพื้นบ้าน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการรักษา การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ใช้กรอบแนวคิดจากองค์ความรู้และกระบวนการรักษาโรคผิดสำแดงของหมอพื้นบ้าน ประชากรที่ศึกษาแบ่งเป็นหมอพื้นบ้าน 4 คน และผู้รับบริการ 20 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์หมอพื้นบ้าน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษา พบว่า 1) องค์ความรู้และกระบวนการรักษา องค์ความรู้ได้รับการถ่ายทอดจากผู้มีความรู้ เช่น บิดา ครูบาอาจารย์ และหมอพื้นบ้าน หมอพื้นบ้าน 4 คนที่ศึกษา มีความเชี่ยวชาญดังนี้ 2 คน เชี่ยวชาญด้านการรักษาอาการผิดสำแดงในหญิงหลังคลอด 1 คน เชี่ยวชาญด้านโรคเกี่ยวกับสตรี และ 1 คน เชี่ยวชาญด้านการรักษาโรคผิดสำแดง การวินิจฉัยเริ่มจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย และจับชีพจรก่อนการรักษา 2) ตำรับยาสมุนไพร รวบรวมสมุนไพรที่ใช้รักษาอาการผิดสำแดงได้ 40 ชนิด โดยแบ่งเป็น 7 กลุ่ม ได้แก่ ยารักษากลุ่มอาการสูตินรีเวช ยารักษากลุ่มทางเดินอาหาร ยารักษาอาการไข้ ยารักษากลุ่มอาการทางกล้ามเนื้อและกระดูก ยารักษากลุ่มอาการทางเดินปัสสาวะ ยาถอนพิษเบื่อเมา ยาบำรุงธาตุและปรับธาตุ 3) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจสูงสุดใน 4 ด้าน ได้แก่ หมอพื้นบ้านผู้ให้บริการ กระบวนการรักษาและผลลัพธ์ การให้บริการ ความเหมาะสมของสถานที่

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ