การส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ด้วยกิจกรรมทางการแพทย์แผนไทย กรณีศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ลลิตา บุญศิลป์
ณัฐวรรณ วรพิสุทธิวงศ์
ประสิทธิ์ บุญไทย
ศศิธร ตัณฑวรรธนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง รวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ ในอาสาสมัครผู้สูงอายุกลุ่มเดียวจำนวน 100 คนที่ผ่านเกณฑ์การคัดเข้าจำนวน 7 ข้อและเกณฑ์การออกจากโครงการจำนวน 3 ข้อ ประเมินก่อน-หลังเข้าร่วมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้วยกิจกรรมทางการแพทย์แผนไทย วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบระดับความรู้ของผู้สูงอายุก่อนและหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุก่อนและหลังการส่งเสริมคุณภาพชีวิต และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจ ความต้องการนำไปใช้ประโยชน์ และความรู้ที่ได้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการกับคุณภาพชีวิต


ผลการวิจัยพบว่าก่อนการศึกษาอาสาสมัครมีคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับปานกลาง เมื่อจบการศึกษาแล้วมีคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับดี มีระดับคะแนนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) แรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการ (r=0.430) และความต้องการนำไปใช้ประโยชน์(r=0.502) มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p<0.05) แต่ความรู้ที่ได้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (r=0.066, p>0.05)


อย่างไรก็ตามอาสาสมัครสามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม ขยายเครือข่ายในอัตราส่วนอาสาสมัคร : ผู้ได้รับการเผยแพร่จำนวน 1 ต่อ 30 คน ทั้งยังสามารถรวมกลุ่มกันผลิต น้ำมันนวดสมุนไพร จำนวน 2 ยี่ห้อ เริ่มจำหน่ายในท้องถิ่น การศึกษานี้แสดงให้เห็นได้ว่าผู้สูงอายุสามารถแสดงศักยภาพที่ชัดเจน สามารถต่อยอดการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรเพื่อจำหน่ายหรือใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพและสามารถประยุกต์การศึกษานี้ให้เหมาะสมกับบริบทของชุมชนผู้สูงอายุอื่นๆ ได้

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ