สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ภาณุพงษ์ ชาเหลา
  • วงศา เล้าหศิริวงศ์
  • สุวิทย์ อุดมพาณิชย์
  • กิตติ ประจันตเสน

คำสำคัญ:

ภาวะน้ำหนักเกิน, โรคอ้วน, บุคลากรสาธารณสุข, overweight, obesity, health personnel

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional research) มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดสกลนคร ศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 237 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ศึกษาในครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม ที่ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และทดสอบค่าความเที่ยงของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาช (Cronbach’s Alpha) เท่ากับ  .80 ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559 ถึง 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559  วิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติถดถอยลอจีสติก  (Multiple Logistic regression) นำเสนอค่า Adjusted OR ที่ช่วงเชื่อมั่น 95%CI

 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 63.29) อายุเฉลี่ย 38.18 ปี (SD ± 9.95) สถานภาพสมรสคู่ (ร้อยละ 56.96)  กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 25.32 เป็นโรคอ้วนและ ร้อยละ17.72 มีภาวะน้ำหนักเกิน ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้แก่ การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพ (Adj. OR=1.88; 95 % CI: 1.02 to 3.45; p-value = 0.041) การรู้เท่าทันสื่อ (Adj. OR=2 .12; 95 % CI: 1.17 to 3.86; p-value = 0.014) การสูบบุหรี่ (Adj. OR=2.42; 95 % CI: 0.99 to 5.92; p-value = 0.001) และ สถานภาพสมรสคู่ (Adj. OR=2.98; 95 % CI: 1.62 to 5.48; p-value = 0.001)  

ข้อเสนอแนะ เจ้าหน้าที่มีน้ำหนักเกินและโรคอ้วน จะแสวงหาความรู้และมีความเข้าใจปัญหาแต่ไม่สามารถปรับพฤติกรรมได้ จึงควรมีการจัดการอย่างเป็นระบบในการช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมทั้งการเสริมแรงและจัดสิ่งแวดล้อม ที่จะช่วยแก้ไขและป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

คำสำคัญ: ภาวะน้ำหนักเกิน, โรคอ้วน, บุคลากรสาธารณสุข

 

Situations and Factors Related to Overweight and Obesity Among Health Personnel of Sub-District Health Promoting Hospitals, Sakonnakhon Province

 

 

Abstract

This cross-sectional study aimed to describe situations and factors associated with overweight and obesity among health personnel of sub-district health promoting hospitals, Sakonnakhon province. The total of 237 samples were systematically randomly selected to respond to a self-administered structured questionnaire that was validated by 3 experts and had a high reliability (Cronbach’s alpha coefficient = .80). The multiple logistic regressions were administered to determine the factors associated with overweight and obesity among health personnel of sub-district health promoting hospitals.

The findings revealed that almost half of the samples were female (63.29%) with average age of 38.18 ± 9.95 years old, 56.96% were married. About a quarter of the samples were obese (25.32%; 95% CI: 16.88 to 34.66) and 17.72% (95% CI: 11.03 to 26.95) were overweight.  The factors associated with overweight and obesity among health personnel of sub-district health promoting hospitals were access to health service information (OR=1.89; 95% CI: 1.03 to 3.57; p-value = 0.041), media literacy skills (OR=2.12; 95% CI: 1.17 to 3.86; p-value = 0.014) smoking (OR=2.42; 95% CI: 0.99 to 5.92; p-value = 0.001) and being married (OR=2.98; 95% CI: 1.62 to 5.48; p-value = 0.001)

Recommendation: the obese and overweight personnel were more likely to acquire more information and had better understanding on the obesity problems but could not change behavior. There should be a system for behavior modification, reinforcement, and environmental management to help solve and prevent overweight and obesity.

Keywords: overweight, obesity, health personnel

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-18