สถานการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาการดื่มสุราของชายวัยทำงานในเขตอุตสาหกรรม จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อ้อมฤทัย พรมพิมพ์
  • วงศา เล้าหศิริวงศ์
  • สุวิทย์ อุดมพาณิชย์
  • ธีรศักดิ์ พาจันทร์
  • กฤชกันทร สุวรรณพันธุ์

คำสำคัญ:

ปัญหาการดื่มสุรา, การดื่มสุราแบบเสี่ยง, การดื่มสุราแบบอันตราย, การดื่มสุราแบบติด, ชายวัยทำงาน, เขตอุตสาหกรรม, alcohol use disorder, hazardous alcohol use, harmful alcohol use, dependence, working age males, industrial Areas

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานการณ์และประเมินปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาการดื่มสุราของชายวัยทำงาน ในเขตอุตสาหกรรม จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างจำนวน395 คนที่ถูกเลือกโดยการสุ่มแบบเป็นระบบ ตอบแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างที่ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และทดสอบค่าความเที่ยงของเครื่องมือ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาช (Cronbach’s Alpha) เท่ากับ .84 ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายสถานการณ์ปัญหาการดื่มสุราและสมการการถดถอยพหุโลจิสติกในการประเมินปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดื่มสุราแบบติดของชายวัยทำงานนำเสนอค่า Adjusted OR ที่ช่วงเชื่อมั่น 95%CI

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 42.03 (95 % CI: 32.20 to 52.20) มีปัญหาการดื่มแบบเสี่ยง ร้อยละ22.61 (95 % CI: 18.30 to 27.39) ดื่มแบบอันตรายและ ร้อยละ 31.88 (95 % CI: 26.99 to 37.09)ดื่มแบบติด ส่วนมากนิยมดื่มสุราแช่ (ร้อยละ 69.28) มีค่ากลางค่าใช้จ่ายในการซื้อสุรา 350 บาท/เดือน(20:10,000) ร้อยละ 10.43 เคยประสบอุบัติเหตุหลังจากการดื่มสุรา ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับปัญหาการดื่มสุราแบบติดได้แก่ นิสัยการดื่มสุราในสถานที่ทำงาน (Adj. OR=4.80; 95 % CI: 1.72 to 13.42; p-value = 0.004) มักดื่มสุรากลั่น (Adj. OR=3.15; 95 % CI: 1.74 to 5.72; และมักดื่มสุราผสม (Adj. OR= 3.42; 95%  CI: 1.35-8.67; p-value < 0.001) ให้เหตุผลว่าดื่มสุราเพื่อเข้าสังคม (Adj. OR=3.41; 95 % CI: 1.62 to 7.22;   p-value =0.004)มีความรู้เกี่ยวกับโทษของการดื่มสุราในระดับสูง (Adj. OR=2.88; 95 % CI: 1.58 to 5.22;   p-value = 0.001) มีทักษะการตัดสินใจปฏิเสธการชักชวนให้ดื่มในระดับต่ำถึงปานกลาง(Adj. OR=2.47;    95 % CI: 1.30 to 4.70; p-value = 0.006)

ดังนั้นชายวัยทำงานที่มีปัญหาดื่มสุราควรได้รับการให้คำปรึกษา กระบวนการเสริมพลังและจัดการสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการลดละเลิกการดื่มสุรา

คำสำคัญ: ปัญหาการดื่มสุรา, การดื่มสุราแบบเสี่ยง, การดื่มสุราแบบอันตราย, การดื่มสุราแบบติด, ชายวัยทำงาน, เขตอุตสาหกรรม

 

Alcohol Use Disorder Situations and It’s Associated Factors among Working Age Males

in The Industrial Areas, Khon Kaen Province

                                                                            

 

Abstract

This cross sectional study aimed to describe alcohol use disorder situations and its associated factors among working age males in the industrial areas of Khon Kaen province. The total of 395 working aged males was systematic randomly selected to response to a structured questionnaire that was validated by 3 experts and had a high reliability (Cronbach’s alpha coefficient = 0.84). The data was analyzed by STATA programs to acquire percentage, mean, standard deviation, and multiple logistic regression models (with 95% CI) were administered to determine the possible associated factors to alcohol use disorder with working age males in the industrial areas.

The finding revealed thatalmost half of the samples wereharmful alcohol use (42.03%; 95 % CI: 32.20 to 52.20), followed by hazardous use (22.61%;95 % CI: 18.30 to 27.39) and 31.88 % had addictive symptoms (95 % CI: 26.99 to 37.09). Most of them drank fermented beverage (69.28%), the median of expense for alcohol was 350 bath /month (min: max; 20:10,000 bath),11.88% used to have accident after drinking alcohol (10.43%). Factors that were associated with alcohol use disorder (addictive drinking ) were habit of drinking in the work place (Adj. OR=4.80; 95 % CI: 1.72 to 13.42; p-value = 0.004), usually drank distilled beverage ( Adj. OR=3.15; 95 % CI: 1.74 to 5.72; and usually drank mixed distilled beverage (Adj. OR= 3.42; 95%CI: 1.35-8.67; p-value < 0.001), reasoning their drinking as socialization (Adj. OR=3.41; 95 % CI: 1.62 to 7.22; p-value =0.004)had high level of knowledge on adverse impact of alcohol consumption (Adj. OR=2.88; 95 % CI: 1.58 to 5.22; p-value = 0.001),  had low to average  level of skills to say no on persuasion to drink alcohol  (Adj. OR=2.47; 95 % CI: 1.30 to 4.70; p-value = 0.006)

Therefore, the working age males with alcohol use disorder should receive counseling, empowerment and environmental management to facilitate them to reduce and/ or stop alcohol use.

Keyword: alcohol use disorder, hazardous alcohol use, harmful alcohol use, dependence, working age males, industrial Areas

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-18