ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจที่ยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลางต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน

ผู้แต่ง

  • กรกานต์ พึ่งน้ำ
  • เพ็ญพักตร์ อุทิศ

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพลังอำนาจที่ยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง, พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์, โรคจิตเภท, Family-Centered Empowerment, Drug Adherence, Schizophrenia

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจที่ยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง และ 2) พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจที่ยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลางและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ครอบครัวของผู้ป่วยจิตเภทซึ่งมารับบริการแบบผู้ป่วยนอกที่คลินิกจิตเวชของโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง จำนวน 40 ครอบครัว แต่ละครอบครัวประกอบด้วยสมาชิก 3 คน คือ ผู้ป่วยจิตเภท ผู้ดูแลหลัก และผู้ดูแลรองในครอบครัว กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการจับคู่ให้มีคุณลักษณะที่ใกล้เคียงกัน ในเรื่องคะแนนพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์ฯ และอายุของผู้ป่วยจิตเภท จากนั้นจับฉลากเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ครอบครัว กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจที่ยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจที่ยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง 2) แบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา และ 3) แบบประเมินพลังอำนาจของครอบครัว เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2) และ 3) มีค่าความเที่ยง Cronbach’s Alpha coefficient เท่ากับ .85 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติ dependent and in dependent t-test    ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

  1. พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนภายหลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=26.61, p <.05)
  2. พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t = 30.41, p <.05 )

คำสำคัญ :การเสริมสร้างพลังอำนาจที่ยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง, พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์,โรคจิตเภท

 

The Effect of Family-Centered Empowerment Program on Drug Adherence

of People with Schizophrenia in the Community

 

Abstract

The purposes of this quasi-experimental pretest – posttest with control group research design were to compare: 1) medication adherence of people with schizophrenia in the community before and after receiving the family-centered empowerment program, and 2) medication adherence of people with schizophrenia in the community who received the family-centered empowerment program and those who received regular nursing care.  The sample consisted of 40 families of people with schizophrenia in the community who received services at the psychiatric clinic in the outpatient department of one community hospital. Each family comprised of 3 members including the person with schizophrenia, and his/her primary and secondary caregiver. They were match-paired by drug adherence scores and the age of the patient, then randomly assigned to either the experimental or control group, 20 families in each group. The experimental group received the family-centered empowerment program whereas the control group received regular nursing care. Research instruments consisted of: 1) the family-centered empowerment program, 2) the drug adherence questionnaire, and 3) the Family Empowerment Scale. All instruments were validated for content validity by 5 professional experts. The reliability of the 2nd and 3rd instruments were reported by Cronbach’s Alpha coefficient as of .85 and .93, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics, dependent and in dependent t–test. Finding were summarized as follows:

  1. The drug adherence of people with schizophrenia in the community after receiving the family- centered empowerment program was significantly higher than that before (t=26.61, p <.05);
  2. The drug adherence of people with schizophrenia in the community who received the family-centered empowerment program was significantly higher than that of those who received regular nursing care (t = 30.41, p < .05).

 

Keywords: Family-Centered Empowerment, Drug Adherence, Schizophrenia

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-12-18