ท่าอุ้มทารกแฝดดูดนมมารดาพร้อมกัน
คำสำคัญ:
Twins, Twins’ breastfeeding, Cradle Holding, Football holding Cross, ทารกแฝด, ท่าอุ้มทารกแฝดดูดนมมารดา, ท่าอุ้มทารกบนตัก, ท่าอุ้มทารกแนบข้าง, ท่าอุ้มทารกขวางตักบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
ท่าอุ้มทารกแฝดดูดนมมารดาพร้อมกันใช้หลักการและเทคนิคเช่นเดียวกับการอุ้มทารกคนเดียว โดยทั่วไปแล้ว ท่าอุ้มทารกแฝดดูดนมมารดาจะขึ้นอยู่กับ ความถนัดและความสุขสบายของมารดาแต่ละคน ท่าอุ้มทารกแฝดดูดนมมารดาพร้อมกันได้นานโดยที่มารดาไม่รู้สึกปวดแขนและปวดหลัง คือ ท่าอุ้มที่มารดาใช้มือข้างที่ถนัดอุ้มทารกแฝดที่น้ำหนักน้อยแบบอุ้มแนบข้าง (Football Holding) และใช้มืออีกข้างอุ้มทารกแฝดที่มีน้ำหนักมากแบบอุ้มบนตัก (Cradle Holding) ทั้งนี้เพราะมือข้างที่ถนัดอุ้มทารกแนบข้างต้องออกแรงรับน้ำหนักมากกว่า จึงจำเป็นต้องอุ้มทารกแฝดที่มีน้ำหนักน้อยเพื่อลดแรงต้าน ในขณะมือข้างที่ไม่ถนัดอุ้มทารกแฝดอีกคนบนตักน้ำหนักทารกจะกดลงบนตักมารดา ทำให้มารดาสามารถอุ้มทารกแฝดดูดนมพร้อมกันได้อย่างสมดุล ไม่ออกแรงมากจนเมื่อยล้า ท่าอุ้มทารกดังกล่าวจะส่งเสริมการเลี้ยงทารกแฝดด้วยนมมารดาให้ประสบผลสำเร็จได้วิธีหนึ่ง
คำสำคัญ:ทารกแฝด, ท่าอุ้มทารกแฝดดูดนมมารดา, ท่าอุ้มทารกบนตัก, ท่าอุ้มทารกแนบข้าง,ท่าอุ้มทารกขวางตัก
Twins’ breastfeeding both holding
Abstract
Twins’ breastfeeding both holding was the similar principle and technique of single baby breastfeeding. Generally, twins’ breastfeeding holding was depend on each mothers’ manageable and comfortable. Twins’ breastfeeding for long time and painless of arms and back that used a dominant hand for football holding a lighter twin and a non-dominant hand for cradle holding a bigger twin. Because a dominant hand applied football holding more force to carry so that need to holding a lighter twin. A non-dominant hand applied cradle holding that baby weight press down on the mother’s lap. Mother could be twins’ breastfeeding both holding and balancing, not force too tired. The football and cradle holds were the success to support twins’ breastfeeding.
Keywords: Twins, Twins’ breastfeeding, Cradle Holding, Football holding Cross, Cradle Holding
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว