การจัดการด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยอย่างยั่งยืนในโรงงานอุตสาหกรรม : กรณีศึกษาโรงงานในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล
  • เบ็ญจา เตากลํ่า
  • เนตรรัชนี ตั้งภาคภูมิ

คำสำคัญ:

การจัดการด้านสุขภาพ, ความปลอดภัย, อาชีวอนามัย, Management of Health, Safety, Occupational Health

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล ด้านสภาพแวดล้อม และด้านระบบบริการสุขภาพกับพฤติกรรมสุขภาพ ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของพนักงาน2) พัฒนารูปแบบการจัดการดา้ นสุขภาพ ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในโรงงานและ 3) ประเมินความยั่งยืนของรูปแบบดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างได้แก่พนักงาน 250 คนจากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย หัวหน้างาน รองหัวหน้างานและผู้แทนพนักงาน 30 คนจากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้บริหารโรงงาน กลุ่มแกนนำและตัวแทนพนักงาน 10คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบทดสอบและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน สถิติทดสอบ t-test (onegroup pre-posttest) และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านปัจเจกบุคคล ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านระบบสุขภาพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพ ความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของพนักงานที่ r = .362 (p<.01), r = .383 (p<.01) และr = .313 (p<.01) ตามลำดับ รูปแบบการจัดการด้านสุขภาพ ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในโรงงานประกอบด้วยการจัดการด้านบริบทและสภาพแวดล้อม ได้แก่ การกำหนดนโยบาย การตั้งเป้าหมายเพื่อลดความเสี่ยงและวิธีการถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ การจัดการด้านปัจจัยนำเข้าได้แก่ การสร้างแรงสนับสนุนของผู้บริหารรูปแบบการมีส่วนร่วมของพนักงาน และชุดกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการด้านสุขภาพ การจัดการด้านกระบวนการได้แก่การสร้างการมีส่วนร่วม ค้นหาแนวทางการแก้ปัญหา การพัฒนาศักยภาพแกนนำ การจัดกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพส่วนการจัดการด้านผลผลิตได้แก่ การประเมินความพึงพอใจของพนักงานต่อกิจกรรมสุขภาพ การแก้ปัญหาแบบมีส่วนร่วม และบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับความต้องการ ปัจจัยสู่ความยั่งยืนได้แก่ การมีส่วนร่วม บทบาทผู้บริหารและการเป็นต้นแบบของแกนนำ

Downloads