ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการพบลูกนํ้ายุงลายในครัวเรือนของอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม

คำสำคัญ:

ลูกนํ้ายุงลาย, พฤติกรรมการป้องกัน, ครัวเรือน, Aedes aegypti linnaeus, household, prevented behavior

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการพบลูกนํ้ายุงลายในครัวเรือน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครัวเรือนในทุกตำบลของอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม จำนวน 395 ครัวเรือนโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสำรวจลูกนํ้ายุงลายและแบบสอบถามต่างๆเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล, ปัจจัยสนับสนุนการป้องกันลูกนํ้ายุงลายในครัวเรือน, แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการป้องกันลูกนํ้ายุงลายในครัวเรือน, เจตคติในการป้องกันลูกนํ้ายุงลายในครัวเรือน, แบบวัดพฤติกรรมการป้องกันลูกนํ้ายุงลายวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบไคสแควร์ การทดสอบที และการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค

ผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนที่ปลอดลูกนํ้ายุงลาย จำนวน 216 ครัวเรือน และครัวเรือนที่พบลูกนํ้ายุงลาย จำนวน 179 ครัวเรือน ผู้อาศัยในครัวเรือนทั้งสองประเภทนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงที่ทำความสะอาดครัวเรือน ร้อยละ 80.6 และ 76.0 มีอายุ 41- 50 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.6 และ 28.5 สถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 72.7และ 74.9 และจบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 51.4 และ 49.2 ตามลำดับ การสนับสนุนเพื่อป้องกันลูกนํ้ายุงลาย และระดับความรู้ไม่มีความสัมพันธ์กับการพบลูกนํ้ายุงลายในครัวเรือน (p>0.05) ปัจจัยที่มีผลต่อการพบลูกนํ้ายุงลายในครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ การทำความสะอาดอ่างเก็บนํ้าในครัวเรือนมีโอกาสพบลูกนํ้ายุงลายลดลงเป็น 0.55 เท่า (95 % CI = 0.47 - 0.65, p<0.001) ครัวเรือนที่มีเจตคติดีมีโอกาสพบลูกนํ้ายุงลายลดลงเป็น 0.91 เท่า (95 % CI = 0.85 - 0.98, p=0.010) และครัวเรือนที่มีพฤติกรรมการป้องกันลูกนํ้ายุงลายดีมีโอกาสพบลูกนํ้ายุงลายลดลงเป็น 0.91 เท่า (95 % = 0.84 - 0.98, p=0.007) ผลการวิจัยนี้นำไปใช้เป็นแนวทางการสนับสนุนให้ประชาชนทำความสะอาดอ่างเก็บนํ้าในบ้านอย่างสมํ่าเสมอ และสร้างความตระหนักในการป้องกันลูกนํ้ายุงลายในครัวเรือน

Downloads