ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ที่มารับบริการในหน่วยปฐมภูมิ

ผู้แต่ง

  • อารีย์รัตน์ เปสูงเนิน
  • นันทวัน สุวรรณรูป
  • วันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง, พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, อายุ, ความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง, การสนับสนุนจากผู้ให้บริการ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการศึกษาหาความสัมพันธ์เชิงทำนายเพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่มารับบริการในหน่วยปฐมภูมิ  กลุ่มตัวอย่าง  คือผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองที่มารับบริการที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 แห่ง ในเขตอำเภอสูงเนิน  จังหวัดนครราชสีมา  จำนวน  88  ราย   เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกแบบสะดวก  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป  แบบสอบถามความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมอง  แบบสอบถามการได้รับการสนับนุนจากผู้ให้บริการ  และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง  วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา  วิเคราะห์อำนาจการทำนายโดยใช้สถิติการถดถอยแบบพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีอายุ  61 ขึ้นไป (= 65.6  ปี)  คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับสูง (= 3.09, S.D. = .25)  เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมด้านการใช้ยา/ติดตามการรักษา   พฤติกรรมด้านการสูบบุหรี่/ดื่มแอลกอฮอล์   และพฤติกรรมด้านการออกกำลังกายอยู่ในระดับสูง  ส่วนพฤติกรรมด้านการจัดการความเครียดและพฤติกรรมด้านการบริโภคอาหารพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง  การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์ถดถอยพหุพบว่าตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้ร้อยละ 25.9  (R= .259, F = 9.78, p-value < .001)  แต่พบว่ามีเพียงตัวแปรอายุและความตระหนักรู้ต่อโรคหลอดเลือดสมองที่มีอำนาจการทำนายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (β = -.209, p < .05 และ β = .393, p < .001)  

          จากการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า  บุคลากรสาธารณสุขควรมีการส่งเสริมให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้สูงอายุเห็นถึงความสำคัญของโรคหลอดเลือดสมอง   ควรมีการคัดกรองและประเมินความเสี่ยง  เพื่อให้ได้รับความรู้จนเกิดความตระหนักรู้ถึงโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองและสามารถปฏิบัติพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม  รวมไปถึงแนะนำให้สังเกตอาการของโรคหลอดเลือดสมองด้วยตนเองตามหลัก (FAST) เพื่อให้สามารถตัดสินใจไปรับการรักษาอย่างทันท่วงทีเมื่อมีอาการของโรคหลอดเลือดสมองเพื่อเพิ่มโอกาสที่จะได้รับการรักษาด้วยยาที่เหมาะสมและลดความพิการที่อาจหลงเหลือมีอาการ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29