ความรู้และเจตคติของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ต่อการบริจาคเลือด

ผู้แต่ง

  • จารุวรรณ ไตรทิพย์สมบัติ
  • ปิยธิดา บุราณผาย
  • อภิชาติ ป้องทองหลาง
  • วิไลรัตน์ โรจน์ฉิมพลี
  • กนกรัตน์ ปรีชาพูด
  • จิรศักดิ์ อินอ่อน

คำสำคัญ:

ความรู้, เจตคติ, นักศึกษา, การบริจาคเลือด

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริจาคเลือดของนักศึกษาคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 250 คน โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิง ร้อยละ 86.0 มีอายุเฉลี่ย 20.8 ปี เคยบริจาคเลือด ร้อยละ 46.6 มีความรู้และเจตคติเกี่ยวกับการบริจาคเลือดอยู่ในระดับสูงและปานกลาง ร้อยละ 72.4 และ 55.2 ตามลำดับ กลุ่มที่เคยบริจาคเลือดมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับการบริจาคเลือดสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เคยบริจาคเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001; 95% CI = 0.64 ถึง 2.54) และมีค่าเฉลี่ยคะแนนเจตคติเกี่ยวกับการบริจาคเลือดสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เคยบริจาคเลือดอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.086; 95% CI = -0.12 ถึง 1.81) เมื่อพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการบริจาคเลือด พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการบริจาคเลือดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริจาคเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.012) โดยกลุ่มที่มีความรู้เกี่ยวกับการบริจาคเลือดอยู่ในระดับดีมีโอกาสบริจาคเลือดสูงกว่ากลุ่มที่มี  ความรู้อยู่ในระดับไม่ดี 2.12 เท่า (95% CI = 1.18 ถึง 3.79) ส่วนเจตคติเกี่ยวกับการบริจาคเลือดมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริจาคเลือดอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.963) ดังนั้น ผู้ที่เกี่ยวข้องควรเพิ่มการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการบริจาคเลือด อันจะนำไปสู่การเพิ่มจำนวนผู้บริจาครายใหม่ในกลุ่มนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และคงไว้ซึ่งจำนวนผู้บริจาครายเก่าให้กลับมาบริจาคเลือดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-29