การดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะยางสำหรับผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ (Supra-cuff Suctioning): นวัตกรรมเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ*
คำสำคัญ:
การดูดเสมหะ, ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ, การดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะลมท่อช่วยหายใจบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การป้องกันการเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ (Ventilator associated pneumonia : VAP) มีความสำคัญเนื่องจากเมื่อเกิด VAP จะมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 8.2 % (Nguile-Makao et al., 2010; Tamayo et al., 2012) เพิ่มระยะเวลาที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักนานขึ้นเฉลี่ย 27.4 วัน ระยะเวลาที่อยู่ในหอผู้ป่วยหนักนานขึ้นเฉลี่ย 28.4 วัน ค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงขึ้นคือเฉลี่ย 26,689.80 บาท ต่อการเกิดปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจ 1 ครั้ง (เพ็ญศรี ลออ และรัตนา เอกจริยาวัฒน์, 2553) เพราะเมื่อใส่ท่อช่วยหายใจ สิ่งคัดหลั่งจากปากและคอจะสะสมเหนือกระเปาะลมยาง (endotracheal tube cuff: ET cuff ) เมื่อเกิดการสำลักลงสู่ทางเดินหายใจส่วนล่างจะทำให้เกิด VAP การดูดเสมหะบริเวณเหนือกระเปาะลมยางหรือ supra-cuff suctioning จึงเป็นวิธีช่วยกำจัดสิ่งคัดหลั่งเหนือ ET cuff ซึ่งอาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิด VAP
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ 1) นำเสนอวิธีการทำ supra-cuff suctioning และ 2) รายงานผลการประเมินประสิทธิภาพของการทำ supra-cuff suctioning จากการนำไปให้พยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยหนักจำนวน 15 คนทดลองใช้ supra-cuff suctioning หลังการทดลองใช้พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และทักษะในการทำ supra-cuff suctioning เพิ่มขึ้น และมีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจของพยาบาลอยู่ในระดับดี ในด้านผู้ป่วยพบว่าหลังได้รับการดูดสิ่งคัดหลั่งเหนือกระเปาะลมยาง ผู้ป่วยมีค่าเฉลี่ยคะแนนสิ่งคัดหลั่ง (secretion score) ลดลงมีค่าเฉลี่ย Oxygen saturation เพิ่มขึ้นและค่า Mean arterial pressure (MAP) ไม่แตกต่างระหว่างก่อนและหลังการดูดสิ่งคัดหลั่ง ดังนั้นการทำ supra-cuff suction จึงมีประสิทธิภาพในการช่วยลดปริมาณสิ่งคัดหลั่งที่อยู่เหนือ ET cuff ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับออกซิเจนมากขึ้นโดยไม่ส่งผลทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้นเมื่อทำการดูดเสมหะ จึงควรนำไปใช้ประกอบกิจกรรมอื่นๆ เพื่อป้องกันการเกิด VAP ต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว