ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการร้องเพลงต่อการขยายทรวงอกและปริมาตรปอดในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • หฤทัย กงมหา
  • ประทุ่ม กงมหา
  • วิไลพร รังควัต

คำสำคัญ:

โปรแกรมออกกำลังกายแบบด้วยการร้องเพลง, การขยายทรวงอก, ปริมาตรปอด, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการร้องเพลงต่อการการขยายทรวงอก และ 2)ศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการร้องเพลงต่อปริมาตรความจุปอดของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ในเพศชายมีความจุปอดน้อยกว่า 30มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และในเพศหญิงน้อยกว่า 23 มิลลิลิตรต่อน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) จำนวน 30 ราย ได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการร้องเพลงที่ประยุกต์จากแบบแผนความเชื่อสุขภาพของเบคเกอร์ เป็นเวลา 40 นาทีต่อวัน 3 วันต่อสัปดาห์ ระยะเวลา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วย 1) การรับรู้ความเสี่ยงของการพร่องออกชิเจน 2) การรับรู้ความรุนแรงของการขยายทรวงอกและปริมาตรปอดลดลง 3) การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายด้วยการร้องเพลง 4) การรับรู้อุปสรรคการออกกำลังกายด้วยการร้องเพลง และ 5) สิ่งกระตุ้นการออกกำลังกายด้วยการร้องมีค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.7 - 1.0 เครื่องมือรวบรวมข้อมูลใช้แบบประเมินการวัดการขยายทรวงอก ส่วนบน ส่วนกลางและส่วนล่างโดยใช้สายวัด และวัดปริมาตรปอดโดย Spirometer แบบ Dry-Rolling seal Spirometer มีค่าความเที่ยงแบบสังเกต เท่ากับ 1.0 การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยก่อนการทดลองและหลังการทดลองใช้ Paired t-test                                                          

        ผลการวิจัย พบว่า ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยการร้องเพลง หลังการทดลองในสัปดาห์ที่ 13 ผู้สูงอายุมีการขยายของทรวงอก และปริมาตรปอด เพิ่มมากขึ้นหลังการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.5) ผลการศึกษา สามารถนำไปเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้ เพิ่มการขยายทรวงอกและปริมาตรปอด

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-28