ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตในนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
คำสำคัญ:
พลังสุขภาพจิต, นักศึกษาพยาบาล, โปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวกันวัดก่อนและหลังการทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ที่มีพลังสุขภาพจิตต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 11 คน ที่ได้รับการคัดกรองระดับพลังสุขภาพจิตจากกลุ่มนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ใช้ระยะเวลา 1 เดือนในเก็บรวบรวมข้อมูลเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบประเมินพลังสุขภาพจิต (RQ) ของกรมสุขภาพจิต) วิเคราะห์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Coefficient alpha or Cronbach ) ได้ค่าความเชื่อมั่น .76 และ 2) โปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิต ใช้กรอบแนวคิดของ Grothberg (1995)และหลักการส่งเสริมพลังสุขภาพจิตของกรมสุขภาพจิต (สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต, 2554) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างด้วยสถิติเชิงพรรณา (Descriptive statistic) เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนพลังสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังโดยใช้สถิติทดสอบวินคอกซอล (Wilcoxon signed-ranks test)
ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนพลังสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองในโปรแกรมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05โดยคะแนนพลังสุขภาพจิตทั้งโดยรวมและรายด้านทั้ง 3 ด้าน หลังการทดลองในโปรแกรมสูงกว่าก่อนการทดลองในโปรแกรมดังนั้นโปรแกรมเสริมสร้างพลังสุขภาพจิตที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมพลังสุขภาพจิตในกลุ่มนักศึกษาพยาบาลได้
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว