การกระตุ้นพฤติกรรมในผู้ป่วยหลังโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะซึมเศร้า:มุมมองทางสมองและประสาทวิทยา
คำสำคัญ:
ภาวะซึมเศร้าหลังโรคหลอดเลือดสมอง, การกระตุ้นพฤติกรรม, สมองและประสาทวิทยาบทคัดย่อ
การเจ็บป่วยด้วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างเฉียบพลันก่อให้เกิดการสูญเสียภาพลักษณ์และความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน บุคคลที่มีกระบวนการปรับตัวเผชิญการสูญเสียไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดความเครียดเรื้อรังจนนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออภิปรายว่าพยาบาลควรทำอย่างไรเพื่อที่จะส่งเสริมการเผชิญปัญหาที่เหมาะสมและป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยหลังโรคหลอดเลือดสมองมีภาวะสุขภาพจิตที่แย่ลง ในเนื้อหาส่วนแรก ผู้เขียนอธิบายถึงกระบวนการเผชิญปัญหาของผู้ป่วยหลังโรคหลอดเลือดสมองว่านำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้อย่างไร จากนั้นจึงนำเสนอแนวคิดการบำบัดด้วยการกระตุ้นพฤติกรรม โดยอธิบายเชื่อมโยงกับหลักการทำหน้าที่ของสมองและประสาทวิทยาเกี่ยวกับการเรียนรู้และกระทำพฤติกรรม ในตอนท้าย ผู้เขียนได้ให้ข้อเสนอแนะสำหรับพยาบาลในการประยุกต์ใช้หลักการทำหน้าที่ของสมองและประสาทวิทยาในการวางแผนกิจกรรมการพยาบาลเพื่อส่งเสริมการปรับตัวและกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการเผชิญปัญหาในผู้ป่วยหลังหลอดเลือดสมอง
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว