ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบ ที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม

ผู้แต่ง

  • เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล
  • ดลวิวัฒน์ แสนโสม

คำสำคัญ:

ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ, แนวปฏิบัติเพื่อป้องกัน ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ, เครื่องช่วยหายใจ

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้เป็นกึ่งทดลองแบบ 2  กลุ่ม  วัดผลหลังทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจ  (supra-WHAPO  CNPG)  ต่ออุบัติการณ์การเกิด  early-onset  VAP  (EVAP)  และความพึงพอใจและความมีวินัยปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯกลุ่มตัวอย่าง 120 คน เป็นผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจใน 4 วันแรกที่ตึกอายุรกรรม    เป็นกลุ่มควบคุม  63 คน รับการดูแลตามแนวปฏิบัติการพยาบาลมาตรฐานของโรงพยาบาล กลุ่มทดลอง 57 คนได้รับการดูแลโดยใช้  supra- WHAPO  CNPG  โดยพยาบาลกลุ่มตัวอย่างจำนวน  24 คน  ระหว่างเดือนตุลาคม  2560  ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2561  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ  chi-square, Relative  Risk  Ratioความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการศึกษาพบว่า  กลุ่มควบคุมเกิด  EVAP  14  ครั้ง  คิดเป็น  56.45  ครั้ง/1,000  วันใช้เครื่องช่วยหายใจ  (95% CI = 0.0605,0.0974)  กลุ่มทดลองเกิด  EVAP  3  ครั้ง  คิดเป็น  15.15  ครั้ง  /1,000  วันใช้เครื่องช่วยหายใจ  (95% CI = 0.0052,0.0436)  กลุ่มควบคุมมีความเสี่ยงการเกิด  EVAP  มากกว่ากลุ่มทดลอง (RR  4.96, 95% CI = 1.50,16.45, p=0.009)ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของพยาบาลจำนวน 24 คนที่ใช้supra- WHAPO  CNPG  อยู่ระดับสูง 85.8%  (M=4.29, SD=.62) คะแนนเฉลี่ยความมีวินัยในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติของพยาบาลมากกว่า90% เกือบทุกกิจกรรม

            ดังนั้น ผลวิจัยแสดงว่า supra-WHAPO  CNPG ช่วยลดอุบัติการณ์และลดความเสี่ยงการเกิด EVAP ในผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจตึกอายุรกรรม และ supra-WHAPO  CNPG  สามารถใช้ได้จริงดังจะเห็นจากคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจและความมีวินัยการใช้แนวปฏิบัติฯอยู่ระดับสูง และยังมีปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการเกิด VAP งานวิจัยครั้งต่อไปควรนำปัจจัยเหล่านั้นมาศึกษาด้วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-20