ปัจจัยทำนายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • อติญาณ์ ศรเกษตริน
  • นงณภัทร รุ่งเนย
  • นิตยา ทองมา
  • รัชชนก กลิ่นชาติ
  • เบญจพร รัชตารมย์
  • พรฤดี นิธิรัตน์

คำสำคัญ:

ปัจจัยทำนาย, ความรู้, การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

          การใช้ยาปฏิชีวนะไม่เหมาะสมนับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการดื้อยาจุลชีพ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาความรู้การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลของนักศึกษาพยาบาล และปัจจัยทำนายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลจำนวน 215 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหูคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นลำดับขั้น

          ผลการวิจัยพบว่ามากกว่าครึ่งหนึ่งของกลุ่มตัวอย่าง (ร้อยละ 54.88) มีความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.95, SD=0.73) การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับมาก (M=3.84, SD=0.53) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นลำดับขั้นพบว่า ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผลและอายุสามารถร่วมกันทำนายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลของนักศึกษาพยาบาล ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติประมาณร้อยละ 13 (Adj. R2=.129,p<.05) ซึ่งตัวแปรที่มีอิทธิพลทำนายการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลได้มากที่สุด คือ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล (B=.258, t=3.719, p<.05) รองลงมา คือ อายุ(B=.169, t=2.427, p<.05)

          วิทยาลัยพยาบาลควรพัฒนาโปรแกรมหรือหลักสูตรอบรมระยะสั้นเพื่อพัฒนาความรู้ด้านการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ด้านการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลไปประยุกต์ในการดูแลตนเอง ผู้ป่วยและชุมชนได้อย่างเหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-20