ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการให้สารอาหารในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมอุบัติเหตุ
คำสำคัญ:
แนวปฏิบัติทางคลินิก, การให้สารอาหาร, ผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมอุบัติเหตุบทคัดย่อ
การเจ็บป่วยวิกฤตอุบัติเหตุทำให้ร่างกายต้องการพลังงานและสารอาหารเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ได้รับสารอาหารลดลงจากการย่อยและดูดซึมที่ลดลงหรือได้รับสารอาหารและพลังงานไม่เพียงพอ การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการให้สารอาหารในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมอุบัติเหตุที่เข้าการรักษาในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ. 2560 กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 46 คน แบ่งเป็นกลุ่มเปรียบเทียบที่ได้รับสารอาหารตามมาตรฐานเดมิ และกลุ่มทดลองที่ได้รับสารอาหารตามแนวปฏิบัติ จำนวนกลมุ่ ละ 23 คน ประเมินผลด้านผู้ป่วยและด้านสมรรถนะของพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test, chi-square และ relative risk ratio ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยกลุ่มทดลองที่ใช้แนวปฏิบัติฯมีสถานะทางโภชนาการโดยรวมดี กว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (คะแนนเฉลี่ย BNT = 3.43 และ 6.39 ตามลำดับ, p =0.001) และพบว่ากลุ่มทดลองมีสัดส่วนผู้ที่มีสถานะทางโภชนาการอยู่ในระดับดีมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 22 เท่า (RR= 22, 95%CI [3.23,149.89]) มีผู้ที่ได้รับพลังงานเพียงพอมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ 10.5 เท่า (RR=10.5, 95% CI [2.77, 39.71]) และมีผู้ที่ได้รับโปรตีนเพียงพอมากกว่า 11 เท่า (RR = 11, 95% CI [2.91, 41.47]) และยังพบว่า กลุ่มทดลองมีภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอีกด้วย (RR = 3.29, 95% CI [1.45, 7.47]) ด้านสมรรถนะของพยาบาลพบว่า พยาบาลกลุ่มทดลองสามารถให้สารอาหารได้ถูกต้องร้อยละ 86.95 และสามารถตัดสินใจให้สารอาหารดีกว่าพยาบาลกลุ่มเปรียบเทียบ 1.52 เท่า (RR = 1.52, 95% CI [1.12, 2.05]) สามารถแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการให้อาหารได้ดีกว่า 33 เท่า (RR = 33, 95% CI [2.10, 519.32]) มีวินัยในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติฯร้อยละ 100 และมีความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติฯ ในระดับมากที่สุดร้อยละ 100 แนวปฏิบัติฯทำให้ผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมอุบัติเหตุภาวะโภชนาการดีขึ้นและเพิ่มสมรรถนะของพยาบาลในการให้สารอาหารอย่างถูกต้องและปลอดภัย
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว