ความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกายด้วยยางยืดในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • ทิพรัตน์ ล้อมแพน
  • หทัยรัตน์ ราชนาวี

คำสำคัญ:

ความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อ, การออกกำลังกายด้วยยางยืด, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายด้วยยางยืดต่อความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อในผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุสถานีกาชาด 4 นครราชสีมา ได้จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างอายุระหว่าง 60-79 ปี จำนวน 40 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม   กลุ่มละ 20 คน คือกลุ่มควบคุม โดยให้ประกอบกิจวัตรประจำวันตามปกติ และกลุ่มทดลอง โดยให้เข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยยางยืด ทำการออกกำลังกาย 3 วัน ต่อสัปดาห์เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแมนวิทนีย์ยูเทส (The Mann-Whitney U Test) ผลการวิจัยพบว่า ความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อของกลุ่มควบคุมก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนกลุ่มทดลองพบว่าความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อก่อนการทดลองและหลังการทดลองในการทดสอบนั่งยกน้ำหนัก 30 วินาที มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Mann-Whitney U Test = 115.50; p – value = .021) หลังการทดลองมีค่าเฉลี่ย (Mean Rank = 24.73) สูงกว่าก่อนการทดลอง (Mean Rank= 16.28) ส่วนผลการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมโปรแกรม พบว่าการทดสอบลุกนั่งเก้าอี้ 30 วินาที มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Mann- Whitney U Test = 65; p – value = .000) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย (Mean rank = 27.25) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (Mean rank = 13.75) และการทดสอบนั่งยกน้ำหนักเป็นเวลา30 วินาที มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Mann- Whitney U Test = 59.50; p – value = .000) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ย (Mean rank= 27.53) สูงกว่ากลุ่มควบคุม(Mean Rank= 13.48)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30