การเตรียมรายงานวิจัยต้นฉบับและการประเมินคุณภาพงานวิจัยทางการพยาบาล และสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • วิริยา โพธิ์ขวาง
  • ชนก จามพัฒน์
  • เบญจวรรณ งามวงศ์วิวัฒน์
  • นงนุช วงศ์สว่าง
  • สุภาเพ็ญ ปาณะวัฒนพิสุทธิ์

คำสำคัญ:

งานวิจัยต้นฉบับ, การประเมิน, คุณภาพงานวิจัย, การพยาบาลและสาธารณสุข

บทคัดย่อ

          ความเจริญก้าวหน้าทางศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล มีการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง งานวิจัยที่ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิจัยมีระดับคุณภาพและความถูกต้องน่าเชื่อถือได้แตกต่างกันไป บทความฉบับนี้ได้นำเสนอวิธีการนำเสนอ การเตรียมรายงานวิจัยต้นฉบับและการประเมินคุณภาพรายงานวิจัยต้นฉบับ (Manuscript) โดยผู้เขียนขอนำเสนอตัวอย่างรูปแบบการประเมินรายงานวิจัยที่พบได้บ่อยในงานวิจัยทางการพยาบาลและสาธารณสุข ซึ่งได้แก่ รูปแบบการประเมินของ PRISMA ที่ใช้ประเมินงานวิจัยชนิดการวิเคราะห์อภิมาน (Meta-Analysis) รูปแบบการประเมินของ STROBE –cross sectional study ที่ใช้ประเมินรายงานวิจัยเชิงสังเกตการณ์หรือเชิงสำรวจ และรูปแบบการประเมินรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Checklist for qualitative research) และงานวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Checklist for quasi-experimental studies) ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงทดลองที่ไม่ได้มีการสุ่มเลือกเข้ากลุ่มทดลอง (Nonrandomized experimental studies) ของสถาบัน Joanna Briggs Institute ผู้สนใจสามารถนำวิธีการเตรียมรายงานวิจัยต้นฉบับและรูปแบบการประเมินไปประยุกต์ใช้ในการเตรียมรายงานต้นฉบับของตนเองและการประเมินคุณภาพงานวิจัยเพื่อนำผลลัพธ์ของงานวิจัยนั้น ๆ ไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งสามารถนำไปพัฒนางานวิจัยของตัวเองให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้นได้

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-30