การใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) ระดับหลักสูตรในวิทยาลัยพยาบาล
คำสำคัญ:
การประกันคุณภาพการศึกษา, เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน, วิทยาลัยพยาบาลบทคัดย่อ
การประกันคุณภาพการศึกษามีหลายรูปแบบ ซึ่งมีองค์ประกอบแตกต่างกัน การเลือกใช้ระบบใดขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละสถาบันการศึกษา แต่ละรูปแบบมีจุดอ่อน จุดแข็งต่างกัน นับเป็นสิ่งที่ท้าทายที่สถาบันการศึกษาจะหาทางเลือกในการพัฒนาระดับหลักสูตรให้ทัดเทียมระดับนานาชาติ ตอบสนองการพัฒนาให้บัณฑิตแต่ละสาขามีความสามารถสูงขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาพยาบาลที่ผู้รับบริการมีความคาดหวังการบริการที่ดีมีคุณภาพ และสมรรถนะตรงตามความต้องการของสังคมหรือผู้ใช้บัณฑิต การประกันการศึกษาระดับหลักสูตรแบบ ASEAN University Network - Quality Assurance (AUN-QA) จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถประกันคุณภาพการศึกษาในระดับหลักสูตรได้ในระดับสากล อย่างไรก็ตาม AUN-QA จะมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแข่งขันทางด้านการศึกษาในระดับสูงหรือไม่ เป็นสิ่งที่สถาบันการศึกษาจะต้องปรับตัวและนำมาพิจารณาเพื่อให้มั่นใจว่าบัณฑิตพยาบาลมีสมรรถนะเหมาะกับสภาวการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป เกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรโดยใช้เกณฑ์ของเครือข่ายมหาลัยของเอเซียน เป็นเกณฑ์ระดับสากลนั้นให้ความสำคัญกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับที่สามารถประยุกต์ได้กับทุกสาขาวิชา โดยเน้นการพัฒนาที่มุ่งสู่ผลการเรียนรู้ตามความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิตระดับสากล จึงเป็นการยกระดับคุณภาพการศึกษา ซึ่งจะเป็นผลดีต่อนักศึกษาพยาบาล และเพิ่มโอกาสในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาในระดับอาเซียน ส่งผลให้พยาบาลไทยมีการพัฒนาการมาตรฐานคุณภาพในระดับสากล ซึ่งจะสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคการศึกษาไทยในระดับโลกต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว