ผลของการใช้โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา ต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • จริญญา แก้วสกุลทอง
  • มัฏฐวรรณ ลี้ยุทธานนท์
  • ผกาสรณ์ อุไรวรรณ

คำสำคัญ:

โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา, ทักษะการแก้ปัญหา, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การเสริมสร้างให้นักศึกษามีความสามารถในการแก้ปัญหาจะส่งผลต่อการปรับตัวในการใช้ชีวิตได้ดีในอนาคต การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหา (Problem-Solving Ability Program [PSAP] ต่อทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 จำนวน 42 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 21 คน และกลุ่มควบคุม 21 คน จับคู่ให้มีความคล้ายคลึงกันด้านอายุ ระดับความเครียด และระดับทักษะการแก้ปัญหา กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรม PSAP ขณะที่กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือในการวิจัย คือ โปรแกรม PSAP และ เครื่องในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามทักษะการแก้ปัญหาของนักศึกษาพยาบาล  โปรแกรม PSAP  ประกอบด้วย 6 กิจกรรม คือ 1) สัมพันธภาพและความร่วมมือ 2) ปัญหาคือความท้าทาย 3) ปัญหาเราแก้ได้  4) ทางไหนดีกว่ากัน 5) ทางออกของนักสู้ และ 6) เปลี่ยนแปลงวันนี้ เพื่อวันข้างหน้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติการทดสอบทีแบบประชากรเป็นอิสระและไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัย พบว่าคะแนนเฉลี่ยทักษะการแก้ปัญหาของกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรม PSAP สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, t(20) = 4.88, p < .05, d = -2.27 และคะแนนเฉลี่ยทักษะการแก้ปัญหาของกลุ่มทดลองที่เข้าร่วมโปรแกรม PSAP สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, t(40) = 1.39, p <.05, d = 1.17 นักศึกษากลุ่มทดลองมีความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมโปรแกรม PSAP ทุกด้านอยู่ในระดับมาก (M = 4.41, SD = 0.48) ผลการศึกษาโปรแกรม PSAP เสริมสร้างให้นักศึกษาพยาบาลมีทักษะการแก้ปัญหาที่ดีขึ้นได้ จึงควรนำไปปรับใช้ในการดูแลนักศึกษาที่มีปัญหา เพื่อช่วยให้เกิดการปรับตัวได้เหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30