ประสบการณ์อาการ กลวิธีจัดการอาการและผลลัพธ์ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4*
คำสำคัญ:
โรคไตเรื้อรัง, ประสบการณ์อาการ, กลวิธีจัดการอาการ, ผลลัพธ์บทคัดย่อ
ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่มีรูปแบบการประเมิน และจัดการอาการที่ชัดเจน การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ประสบการณ์อาการ กลวิธีจัดการอาการ และผลลัพธ์ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 78 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามประสบการณ์อาการ กลวิธีจัดการอาการและผลลัพธ์ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 พัฒนามาจาก The Memorial Symptom Assessment Scale ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มที่คล้ายกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ทดสอบค่าความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากได้ค่า .78 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า ประสบการณ์อาการสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อ่อนเพลีย (ร้อยละ 66.7) ปวดตามร่างกาย (ร้อยละ 65.4) ปัสสาวะเป็นฟอง (ร้อยละ 48.7) ปัสสาวะบ่อย (ร้อยละ 41) และผิวแห้ง (ร้อยละ 41) กลุ่มตัวอย่างจัดการกับอาการอ่อนเพลีย ด้วยการนอนและนั่งพัก อาการปวดตามร่างกายใช้วิธีนวด อาการผิวแห้งใช้วิธีทาโลชั่น แต่ไม่ได้จัดการกับอาการปัสสาวะเป็นฟองและปัสสาวะบ่อย กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่นิยมจัดการอาการด้วยตนเองก่อนการใช้ยาหรือพึ่งพาหัตถการทางการแพทย์ ภายหลังการจัดการอาการพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอาการดีขึ้น ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนากลวิธีจัดการอาการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละบุคคล เพื่อการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพซึ่งนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว