ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีแซทเทียร์ต่อภาวะซึมเศร้า ของผู้สูงอายุในชุมชนอำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ทยาวีร์ จันทรวิวัฒน์
  • ทัศนีย์ ทิพย์สูงเนิน
  • แสงนภา บารมี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม, ทฤษฎีแซทเทียร์, ภาวะซึมเศร้า, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

ในการพยาบาลผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้า ปัญหาทางใจจะคงอยู่เป็นระยะเวลานานหากไม่ได้รับการแก้ไขเชิงลึก การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีแซทเทียร์และกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ และเพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยภาวะซึมเศร้าก่อนรับโปรแกรมฯ หลังสิ้นสุดโปรแกรมฯทันที และในระยะติดตามผล 1 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มารับบริการ ณโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 28 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าที่กำหนดไว้ แล้วสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง 13 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีแซทเทียร์ และแบบวัดความซึมเศร้าของผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการศึกษาพบว่า ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, F(1, 26) = 12.0, p = .002, ηp2 = 0.44 โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะซึมเศร้าต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และในกลุ่มทดลองระดับภาวะซึมเศร้าก่อนรับโปรแกรมฯ หลังสิ้นสุดโปรแกรมฯทันที และในระยะติดตามผล 1 เดือน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, F(2, 52) = 54.4, p < .001, ηp2 = 0.66 โปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีแซทเทียร์มีผลต่อการลดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุกลุ่มที่ศึกษา บุคลากรสาธารณสุขควรนำไปดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีภาวะซึมเศร้าในบริบทของชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30