การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทองตามการรับรู้ ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โรงเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • รำไพ หมั่นสระเกษ
  • วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุล
  • มุกดา หนุ่ยศรี

คำสำคัญ:

การรับรู้, ผลการดำเนินงาน, โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง, โรงเรียนระดับประถมศึกษา

บทคัดย่อ

โรงเรียนส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง แต่ปัญหาสุขภาพของนักเรียนยังคงมีอยู่ การวิจัยเชิงพรรณนานี้เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง ตามการรับรู้ของครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวแบ่งเป็น 3 กลุ่ม จำนวนกลุ่มละ 101 คน สุ่มตัวอย่างโรงเรียนแบบแบ่งชั้น และสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือเป็นแบบสอบถามผลการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับทอง จำนวน 3 ฉบับ แยกตามการรับรู้ของครู นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา .90 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ .98 .98 และ .99 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา One way ANOVA, Tamhane,s T2, Least Significant Difference และ Kruskal-Wallis H test ผลการวิจัย พบว่ารู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน ผลการดำเนินงานโดยรวมและรายองค์ประกอบ อยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตามทั้งสามกลุ่มรับรู้ผลการดำเนินงานโดยรวม องค์ประกอบที่ 5 และ 7 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, F(2, 300) = 3.716, p = .025, ηp2 = .007, F(2,300) = 9.286, p = .000, ηp2 = .029, F(2, 300) = 5.252, p = .006, ηp2 = .012 ตามลำดับ ครูมีการรับรู้โดยรวมสูงกว่าผู้ปกครองนักเรียน (p = .038) แต่การรับรู้ของนักเรียนไม่แตกต่างจากครูและผู้ปกครองนักเรียน (p > .05) ครูรับรู้องค์ประกอบที่ 5 และ 7 สูงกว่านักเรียน (p = .002, p = .010) และผู้ปกครองนักเรียน (p = .000, p = .003) แต่การรับรู้ของนักเรียนไม่แตกต่างจากผู้ปกครองนักเรียน (p > .05) โรงเรียนควรพัฒนาการดำเนินงานทุกองค์ประกอบให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อสุขภาพ และโภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย เพื่อยกระดับไปสู่โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30