ผลการใช้รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่นในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • กนกภรณ์ อ่วมพราหมณ์
  • ชุติมา เทียนชัยทัศน์
  • กมลพรรณ วัฒนากร
  • จุไรรัตน์ ดวงจันทร์
  • อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์

คำสำคัญ:

รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น, มัธยมศึกษาตอนต้น, จังหวัดเพชรบุรี

บทคัดย่อ

การตั้งครรภ์วัยรุ่นในประเทศไทยมีอัตรามากกว่าเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่นต่อความรู้เรื่องเพศและการป้องกันการตั้งครรภ์ เจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ และความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนที่เป็นตัวแทนของแต่ละอำเภอในจังหวัดเพชรบุรี รวม 8 แห่ง จำนวน 230 คน คัดเลือกโดยการสุ่มแบบหลายขั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการจัดกิจกรรมป้องกันการตั้งครรภ์วัยรุ่น แบบวัดความรู้เรื่องเพศและการป้องกันการตั้งครรภ์ แบบสอบถามเจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และแบบสอบถามความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และตรวจสอบความเชื่อมั่นของเครื่องมือได้ค่า KR20 เท่ากับ .82 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ .88 และ .88 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้รูปแบบนักเรียนมีความรู้เรื่องเพศและการป้องกันการตั้งครรภ์ เจตคติต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร มากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ, t(299) = 9.37, p < .05, d = 0.65,  t (299) = 7.54, p < .05, d = 0.68 และ t (299) = 10.62, p < .05, d = 0.72  ตามลำดับ รูปแบบดังกล่าวนี้สามารถเพิ่มความรู้ เจตคติ และความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรได้ จึงควรนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรู้ สร้างแรงจูงใจและพัฒนาทักษะการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรกับกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30