การวิเคราะห์มโนทัศน์การจัดการตนเองสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี
คำสำคัญ:
เอชไอวี, การจัดการตนเอง, การวิเคราะห์มโนทัศน์บทคัดย่อ
การจัดการตนเองสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีความสัมพันธ์กับการพยาบาลและการวิจัยทางการพยาบาล ซึ่งเป็นมโนทัศน์ที่น่าสนใจ แต่ยังขาดความชัดเจนในวรรณกรรม โดยเฉพาะปรากฏการณ์ทางการพยาบาลผู้ติดเชื้อเอชไอวี วัตถุประสงค์ของบทความฉบับนี้ คือ เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ของการจัดการตนเองสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี และเพื่อให้ได้คำจำกัดความที่ชัดเจน รวมทั้งคุณลักษณะของมโนทัศน์ คำศัพท์และขอบเขตของมโนทัศน์ที่ชัดเจน โดยใช้ขั้นตอนการวิเคราะห์มโนทัศน์ของวอล์คเกอร์และเอแวนท์ 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเลือกมโนทัศน์ 2) การกำหนดวัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์มโนทัศน์ 3) การระบุการใช้มโนทัศน์ที่สามารถค้นหาได้ 4) การกำหนดคุณลักษณะของมโนทัศน์ 5) การระบุกรณีตัวอย่าง 6) การระบุกรณีศึกษา 7) การระบุสิ่งที่มาก่อนและผลที่เกิดขึ้น และ 8) การกำหนดสิ่งที่จะวัด ผลจากการวิเคราะห์มโนทัศน์ครั้งนี้ได้คำจำกัดความของการจัดการตนเองสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งมีคุณลักษณะที่กำหนดของมโนทัศน์ คือ 1) แหล่งทรัพยากร 2) ความรู้ 3) การปฏิบัติตามแผนที่วางไว้ 4) การมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง และ 5) การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลพื้นฐาน จากคุณลักษณะดังกล่าวการจัดการตนเองสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ควรจะหมายถึง ความสามารถของบุคคลในการจัดหาวิธีการในการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อลดผลกระทบที่เกิดจากการเจ็บป่วยและความรุนแรงของการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อเอชไอวี โดยการจัดการตนเองสำหรับผู้ติดเชื้อเอชไอวีเป็นมโนทัศน์ที่เป็นผลลัพธ์ทางบวกของการพยาบาล ควรมีการนำไปใช้เป็นแนวทางการประเมินคุณภาพการพยาบาลและการพัฒนาเครื่องมือเพื่อวัดผลลัพธ์ของการศึกษาวิจัยหรือพัฒนาทฤษฎีต่อไป
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว