ผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยแกนนำานักศึกษาพยาบาลต่อความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นตอนต้น

ผู้แต่ง

  • พอเพ็ญ ไกรนรา
  • เมธิณี เกตวาธิมาตร
  • มัณฑนา มณีโชติ

คำสำคัญ:

การตั้งครรภ์ไม่พร้อม, แกนนำ, นักศึกษาพยาบาล, วัยรุ่นตอนต้น

บทคัดย่อ

         การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นตอนต้น ก่อนและหลังการอบรมโดยแกนนำานักศึกษาพยาบาล และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมภายหลังการอบรมศึกษาจากประชากรนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี 7 แห่งจำานวน 245 คน รวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3 ฉบับ จากการศึกษาครั้งนี้แบบทดสอบความรู้มีค่าความเชื่อมั่น (KR-20) เท่ากับ .75 แบบวัดทัศนคติ และแบบวัดความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .71 และ .87 ตามลำาดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาสถิติทีคู่ (Paired t-test) และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สันกับนักเรียนซึ่งเข้าร่วมกิจกรรมตลอดการอบรม 2 วัน รวม 198 คน (80.82%)
        ผลการศึกษาพบว่านักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (60.6%) อายุระหว่าง 13-15 ปี (x=14.02, SD =.49) ก่อนการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ระดับน้อย ทัศนคติระดับปานกลาง และความตั้งใจ
ในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมระดับมาก หลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ระดับปานกลาง ทัศนคติและความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยทุกด้านเพิ่มขึ้นภายหลังการอบรมอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p < .001) ความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมภายหลัง
การอบรมมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p < .001) ดังนั้น โปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยแกนนำานักศึกษาพยาบาลสามารถพัฒนาความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นตอนต้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Downloads