การประเมินผลโครงการ การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุในชุมชน

ผู้แต่ง

  • ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล
  • เนตรรัชนี ตั้งภาคภูมิ

คำสำคัญ:

วิจัยประเมินผล, ศูนย์การเรียนรู้เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ, เด็กปฐมวัย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บริบท ปัจจัยนำาเข้า กระบวนการและผลลัพธ์ของโครงการด้วยการประเมินรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างจากการสุ่มแบบเจาะจงประกอบด้วยแกนนำาชุมชน อาจารย์ นักศึกษา และผู้สูงอายุที่ร่วมโครงการ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

     ผลการวิจัยพบว่าด้านบริบทกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (71.42%)เห็นด้วยระดับมากที่สุดเรื่อง หลักการและเหตุผลมีความสอดคล้องกับภาวะสุขภาพของสังคม (x= 4.72, SD = .458) ด้านปัจจัยนำาเข้า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (94.26%) เห็นด้วยระดับมากที่สุดเรื่อง ความเหมาะสมของชุดกิจกรรมการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ (x= 4.62,SD = .652) ด้านกระบวนการกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่(94.28%) เห็นด้วยระดับมากที่สุดเรื่อง ความเหมาะสมของวิธีการถ่ายทอดความรู้ (x= 4.94, SD = .24) ด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (94.28%) เห็นด้วยระดับมากที่สุดเรื่อง การใช้ความรู้เพื่อดูแลตนเอง (x= 4.94, SD = .24) ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (77.14%) เห็นว่า บริบทของโครงการ ปัจจัยนำาเข้า กระบวนการ และผลผลิตของโครงการ มีความเหมาะสมระดับมากทีสุด ( x= 4.77, SD = .426, x= 4.88, SD = .32, x= 4.82, SD = .38 และ x= 4.88, SD = .32 ตามลำาดับ) จำานวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมและกิจกรรมเป็นไปตามที่แผนกำาหนด จุดแข็งของโครงการคือ การมีส่วนร่วมของชุมชนและความเชี่ยวชาญของวิทยากร จุดอ่อนคือ ข้อมูลในเว็บไซต์ ศูนย์การเรียนรู้ยังไม่เพียงพอ ปัญหาและอุปสรรคคือ การบูรณาการโครงการกับแผนการเรียน ทำาให้ต้องเร่งดำาเนินการก่อนสิ้นปีงบประมาณ โครงการนี้ควรดำาเนินการต่อเนื่องเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งของชุมชนสู่การพึ่งพาตนเอง

Downloads