ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพในบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่มีการเผาผลาญ อาหารผิดปกติ

ผู้แต่ง

  • จินตนา บัวทองจันทร์
  • อุบล สุทธิเนียม
  • เสมอจันทร์ ธีระวัฒน์สกุล

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการตนเอง, ความเชื่อด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi - experimental research) แบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (one groups pre-post test design) วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพในบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่มีการเผาผลาญอาหารผิดปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรสายสนับสนุนวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ จำนวน 40 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพและแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ เครื่องมือในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเอง ที่ประกอบด้วยกิจกรรมที่ผู้วิจัยจัดขึ้นใน12 สัปดาห์ คือ สัปดาห์ที่ 1, 3, 5, 7, 8,12 โดยแต่ละสัปดาห์กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการประเมินในเรื่องน้ำหนัก  เส้นรอบเอวและความดันโลหิต  และผู้วิจัยประเมินการกำกับตนเองจากแบบบันทึกการกำกับตนเองเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพในเรื่อง  การควบคุมอาหาร การออกกำลังกายและการจัดการความเครียด  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  การแจกแจงความถี่  ร้อยละและ Paired t- test

    ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างหลังเข้าร่วมโปรแกรม 12 สัปดาห์ มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพทั้ง 3 ด้าน สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติ (p< .001) จากผลการวิจัยโปรแกรมการจัดการตนเองสามารถช่วยให้กลุ่มตัวอย่างสามารถจัดการตนเองในการปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงในการเป็นโรค จึงควรนำโปรแกรมไปใช้สำหรับปรับพฤติกรรมสุขภาพ ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงอื่นๆโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น การสูบบุหรี่ และดื่มสุรา

Downloads