ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมการฝากครรภ์ต่อความตระหนักรู้และความตั้งใจในการมาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ในเขตอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • จินตนา ใจมั่น
  • พรทิพย์ ปัญญาสิทธิ์
  • พรฤดี นิธิรัตน์
  • สายใจ จารุจิตร
  • นิจวรรณ วีรวัฒโนดม

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการฝากครรภ์, หญิงวัยเจริญพันธุ์, ความตั้งใจ, ความตระหนักรู้

บทคัดย่อ

หญิงตั้งครรภ์ควรไปฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (ฝากครรภ์เร็ว) เพื่อให้ได้รับการดูแลสุขภาพและเกิดความปลอดภัยกับมารดาและทารกในครรภ์ การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการฝากครรภ์ต่อความตระหนักรู้และความตั้งใจในการมาฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ ของหญิงวัยเจริญพันธุ์ในเขตอำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่มีอายุ 15 - 35 ปี จำนวน 54 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมการฝากครรภ์ และแบบสอบถามเพื่อวัดความตระหนักรู้ต่อการไปฝากครรภ์ และความตั้งใจในการฝากครรภ์เร็ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent t-test, Wilcoxon signed-rank test, Independent t-test และ Mann–Whitney U test ผลการศึกษาพบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีความตระหนักรู้ (Mdn = 49) และความตั้งใจในการมาฝากครรภ์เร็ว (Mdn = 10) สูงกว่าความตระหนักรู้ (Mdn = 44) และความตั้งใจในการมาฝากครรภ์เร็ว ก่อนการทดลอง (Mdn = 7), Z = -4.38, p < .001, r = .84 และ Z = -4.60, p < .001, r = .88 ตามลำดับ และสูงกว่าความตระหนักรู้ (Mdn = 39) และความตั้งใจในการมาฝากครรภ์เร็ว ของกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Mdn = 8), U = 25.0, p < .001, r = .81 และ U = 28.5, p < .001, r = .83 ตามลำดับ ดังนั้น จึงควรนำโปรแกรมการส่งเสริมการฝากครรภ์ที่พัฒนาขึ้นไปใช้เพื่อส่งเสริมการฝากครรภ์เร็วให้ประสบความสำเร็จต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30