ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 -6 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการบริโภคอาหาร, ระดับชั้นประถมศึกษา, ภาวะน้ำหนักเกินบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหารและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีน้ำหนักเกินจากปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อและปัจจัยเสริมต่อการบริโภคอาหารที่ทำาให้เกิดนาหนักเกินเกณฑ์โดยศึกษาจากนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีน้ำหนักเกิน ในตำาบลลำไทร อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี จำนวน 158 คน ซึ่งเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยดัดแปลงจากเครือวัลย์ ปาวิลัย (2550) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ด้วยสถิติ สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยเสริม (r = .638) และความเชื่อ(r=.241) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และที่ระดับความมีนัยสำาคัญทางสถิติ .01 และสามารถใช้พยากรณ์พฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีน้ำหนักเกิน เกณฑ์ได้ ร้อยละ 41.8 (R2 = 0.418, F=57.420) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวทางให้บุคลากรในทีมสุขภาพ วางแผนการพัฒนาโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะโภชนาการ และ เน้นด้านความเชื่อ ความรู้ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับความอ้วนโดยเฉพาะเรื่องของการใช้ยาลดน้ำหนัก
Downloads
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว