การจัดการอาหารของผู้เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน

ผู้แต่ง

  • สุปราณี โรจน์สุพร สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อรุณณี ใจเที่ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการอาหาร, ชุมชน, โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

พฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมโรคของผู้เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง แต่ผู้เป็นโรคดังกล่าวมีรูปแบบการจัดการอาหารที่แตกต่างกัน  การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การจัดการอาหารของผู้เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจงจากชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี  โดยเป็นผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 23 คน ได้แก่ ผู้เป็นโรคเบาหวาน ผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง  ผู้เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและผู้ดูแล  รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง 10 คน ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผู้จำหน่ายสินค้าในชุมชน และพยาบาลวิชาชีพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มและการสังเกต  ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยการตรวจแบบสามเส้าด้านแหล่งข้อมูล วิธีรวบรวมข้อมูล และ การตรวจสอบยืนยันโดยผู้ให้ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า  1) แหล่งอาหารของผู้เป็นโรค คือ ภายในชุมชนและภายนอกชุมชน 2) พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ครบทั้ง 3 มื้อ ที่มีรสเค็ม ส่วนใหญ่รับประทานปลาและผัก ประกอบอาหารด้วยวิธีการป่น ต้ม อ่อม ทอดและปิ้ง ปรุงรสชาติโดยใช้ทั้ง เกลือ น้ำปลา น้ำปลาร้า และผงชูรส ยังดื่มกาแฟ น้ำหวาน นม โกโก้ ขนมและผลไม้ตามฤดูกาล และ 3) การเลือกและการประกอบอาหารขึ้นอยู่กับการรับรู้เรื่องโรค ความเคยชิน ความชอบของสมาชิกในครอบครัว และตามใจผู้ประกอบอาหาร  ซึ่งข้อค้นพบในการวิจัยสามารถนำไปวิเคราะห์การจัดการอาหารเพื่อออกแบบการจัดการบริการสุขภาพผู้เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคต่อไป

References

กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สอง โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 256-268.

คลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลกุมภวาปี. (2560). [ทะเบียนโรคเรื้อรัง คลินิกหมอครอบครัวโรงพยาบาลกุมภวาปี]. เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์.

คณะอนุกรรมการอาหารแห่งชาติ. (2559). กรอบยุทธศาสตร์การจัดการอาหารของประเทศไทย. กรุงเทพฯ :ม.ป.พ.

ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.

ณฐกร นิลเนตร. (2562). ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารการพยาบาลทหารบก, 20(2), 51-57.

พชรรัตน์ บุนนาค. (2560). ปัจจัยด้านจิตสังคมในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ที่ศูนย์บริการปฐมภูมิ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (คูคต). ธรรมศาสตร์เวชสาร, 17(3), 303-314.

รอยพิมพ์ เลิศวิริยานันท์. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 9(3), 216-239.

วรางคณา พิชัยวงศ์. (2558). โรคไตจากโรคเบาหวาน. วารสารกรมการแพทย์, 40(5), 20-25.

วิษณุ เฉลิมนนท์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2ในคลินิกเบาหวาน สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี ตำบลโคกสลุง อำเภอพันานิคม จังหวัดลพบุรี. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 5(2), 137-144.

ศัลยา คงสมบูรณ์. (2558). ข้อแนะนำด้านอาหารและโภชนาการสำหรับผู้เป็นเบาหวาน. สืบค้นจาก http://www.rcpt.org/rcpt/211-utrition_therapy_in_diabetic_patient-20120301141810.pdf

สมใจ จางวาง, เทพกร พิทยภินัน, และนิรชร ชูติพัฒนะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสาร เครือข่ายพยาบาล และการสาธารณสุขภาคใต้, 3(1), 110-128.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2560). รายงานประจำปี 2560. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนดีไซน์.

สุพัตรา ศรีวณิชชากร. (2560). สถานการณ์การป่วยและการตายด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหัวใจและหลอดเลือด) ในประเทศไทย ในระยะ 5 ปี (2553-2557). วารสารควบคุมโรค, 43(4), 379-390.

สุวรรณี สร้อยสงค์, อังคณา เรือนก้อน, ขวัญสุวีย์ อภิจันทรเมธากุล, นิลุบล นันตา, และจุฑามาศ สุขเกษม. (2560). ศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองตามการรับรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่ควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 93-103.

อารีวรรณ์ อ่วมตานี. (2559). การวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล Qualitative Research in Nursing (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุดมศักดิ์ แซ่โง้ว, รัตติยา อักษรทอง, และอภิญญา เลาหประภานนท์. (2561). ผลของเศรษฐานะต่อการบรรลุผลสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน (รายงานผลการวิจัย). สืบค้นจาก มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยระบบสุขภาพและการแพทย์ เว็บไซต์: https://kb.hsri.or.th

อุสา พุทธรักษ์, และเสาวนันท์ บำเรอราช. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับ น้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก้างปลา จังหวัดเลย. วารสารการพัฒนาสุขภาพชมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 20-35.

อ้อมใจ แต้เจริญวิริยะกุล, และกิตติยา ศิลาวงศ์ สุวรรณกูฎ. (2559). การรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ตำบลทุ่งมน อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบ สุขภาพ, 9(2), 331-338.

อรทิพย์ แสนเมืองเคน, เบญจา มุกตาพันธ์, สมใจ ศรีหล้า, และพิษณุ อุตตมะเวทิน. (2560). พฤติกรรมการดูแลตนเองด้านโภชนาการของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 หมู่บ้านอุดมทรัพย์ อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(2), 227-236.

International Diabetes Federation. (2015). IDF DIABETES ATLAS. Retrieved from http://www.diabetesatlas.org/e-library/epidemiology-research/diabetes-atlas/13-diabetes-atlas-seventh-edition.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30