ปัจจัยทำนายการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา จันทร์สุวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุนทรี ขะชาตย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปวิดา โพธิ์ทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เสาวลักษณ์ ศรีโพธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี, คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุจิน มอญแช่มช้อย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโพธิ์พระยา อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงานการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ปัจจัยทำนาย

บทคัดย่อ

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นบุคลากรสุขภาพที่สำคัญในการส่งเสริมและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน การทราบปัจจัยในการปฏิบัติงานของ อสม. จะเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาการปฏิบัติงานของ อสม. ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของ อสม. จังหวัดสุพรรณบุรี ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ อสม. จำนวน 290 ราย  เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและแบบสอบถามการปฏิบัติงานการส่งเสริมสุขภาพจิต และป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ที่ผ่านการพิจารณาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และนำไปทดลองใช้กับ อสม. ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 ราย มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบากเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่าระยะเวลาในการปฏิบัติงานเป็น อสม. ความรู้ที่ให้ประชาชน และอาชีพ สามารถร่วมกันทำนายการปฏิบัติงานของ อสม. ด้านการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ร้อยละ 13.1 (R2 = 0.131, p < .01) ผลการวิจัยสามารถนำไปวางแผนพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการปฏิบัติงานด้านการส่งเสริมสุขภาพจิต  ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต และดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนอย่างต่อเนื่อง

References

กรมสุขภาพจิต. (2559). การส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในโรงพยาบาลชุมชน (ฉบับปรับปรุง). นนทบุรี: บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด.

กรมสุขภาพจิต. (2560). แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (2560-2564). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

กรวิกา บวชชุม, ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต, และวิลาวรรณ คริสต์รักษา. (2561). ผลของการให้ความรู้ในการคัดกรองโรคจิตต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคัดกรองโรคจิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(2), 33-42.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2562). สรุปรายงานการป่วย พ.ศ.2562. สืบค้นจาก https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/ill_2562_full_20200921.pdf

ชาญชัย จิวจินดา. (2562). รูปแบบการพัฒนาอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม. วารสารนวัตกรรมสังคม, 2(2), 34-50.

ปรางค์ จักรไชย, อภิชัย คุณีพงษ์, และวรเดช ช้างแก้ว. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ในทีมหมอครอบครัว จังหวัดปทุมธานี. วารสารพยาบาล, 31(1), 16-28.

ตะวันชัย จิรประมุขพิทักษ์. (2562). ช่องว่างในการเข้าถึงบริการจิตเวชและภาระทางเศรษฐศาสตร์ปีที่ 2. สืบค้นจาก https://www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/11899

ธนพัทธ์ จันท์พิพัฒน์พงศ์. (2562). ปัจจัยภายในบุคคลและสภาพแวดล้อมทางสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมอาสาสมัครของกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลเวียงเหนือ อำเภอเวียงชัย จังหวัดเชียงราย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 11(1), 1-14.

ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2563). การดำเนินงานสุขภาพจิตภายใต้วิกฤตโควิด 19 ของประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(4), 280-291.

ยุพิน หงษ์วะชิน, อำนวย ปาอ้าย, เพ็ญนภา กุลนภาดล, และวรางภรณ์ ไตรติลานันท์. (2556). การพัฒนาสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการดำเนินงานสุขภาพจิตชุมชน. วารสารพยาบาลตำรวจ, 5(2), 61-78.

ศิริลักษณ์ ช่วยดี, โสภิณ แสงอ่อน, และพัชรินทร์ นินทจันทร์. (2560). การศึกษาการปฏิบัติงานด้านจิตเวชและสุขภาพจิตชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(1), 41-58.

เสด็จ ทะลือ, ศิริพร กุณา, และเอกรินทร์ โนจิต. (2562). การพัฒนารูปแบบการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยสุขภาพจิตในชุมชนโดยกระบวนการ AIC ในบริบทของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอ่ายนาไลยอำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(1), 76-87.

Herzberg, F., Mausner, B., & Snydermanet, B. B. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

World Health Organization. (2016). Depression. Retrieved from https://www.who.int/health-topics/depression#tab=tab_1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30