การจัดการภาวะวิกฤติในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด 19 ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น โรงพยาบาลชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้

ผู้แต่ง

  • อุไรวรรณ บุญส่ง สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปราโมทย์ ทองสุข สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ประภาพร ชูกำเหนิด สาขาวิชาการบริหารทางการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การจัดการในภาวะวิกฤติ, การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด 19, ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น

บทคัดย่อ

ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นมีส่วนสำคัญในการจัดการภาวะวิกฤติระหว่างการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด 19 เพื่อควบคุมและป้องกันอันตรายต่อผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการสุขภาพ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการจัดการ และเปรียบเทียบการจัดการภาวะวิกฤติในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อโควิด 19 ระหว่างผู้บริหารการพยาบาลต่างกลุ่มกัน ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ หัวหน้าหน่วยงานบริการพยาบาลทุกหน่วยงานของโรงพยาบาลชุมชน 5 จังหวัดชายแดนใต้ จำนวน 168 คน ที่สมัครใจที่เข้าร่วมการวิจัยโดยได้รับคัดเลือกแบบเจาะจง  เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมี 2 ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป และแบบสอบถามการจัดการในภาวะวิกฤติดังกล่าว เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .91 และเมื่อตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้น มีคะแนนเฉลี่ยการจัดการภาวะวิกฤติในสถานการณ์โดยรวม (M = 4.01, SD = 0.68) อยู่ในระดับมาก และพบว่าผู้ที่มีประสบการณ์วางแผนจัดการภาวะวิกฤติกับหน่วยงานภายนอก มีคะแนนการจัดการภาวะวิกฤติ  มากกว่ากลุ่มที่ไม่มีประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(165.64) = 3.05, p < .01) และผู้ที่มาจากต่างหน่วยงานกันมีคะแนนการจัดการภาวะวิกฤติในสถานการณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 5.06, p < .05, d = 76.65)

References

กรมควบคุมโรค. (2563ก). โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) สถานการณ์ในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

กรมควบคุมโรค. (2563ข). โรคติดเชื้อโคโรนา 19 (COVID-19). สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

กรมควบคุมโรค สำนักระบาดวิทยา. (2558). คู่มือพัฒนาการจัดการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข ระบบบัญชาการเหตุการณ์ และศูนย์ปฏิบัติการณ์ภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. สมุทรสาคร: บริษัท บอร์น ทู บี พับลิซซิ่ง จำกัด.

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). กฏกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง พ.ศ. 2560. สืบค้นจาก http://dhes.moph.go.th/wp-content/uploads/2017/06/L002560.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2563ก). คำแนะนำการเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลรองรับโรคติดเชื้อโควิด2019 (Checklist for Health facilities on COVID-19 response). สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_health_care/g06_facility_030463.pdf

กระทรวงสาธารณสุข. (2563ข). แนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการจัดการภาวะระบาดของโรคโควิด19 ในข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 1). สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/gother/g_other02.pdf

กฤษณา กลิ่นสมิทธิ์. (2560). สมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหน่วยงานในโรงพยาบาลวชิรพยาบาล. วชิรสารการพยาบาล, 19(2), 24-34.

กองสารนิเทศ สป. มท. (2562). มท. จัดพิธีส่งและอำนวยพรผู้แสวงบุญชาวไทยที่เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ ประจำปี 2562 (ฮ.ศ. 1440). สืบค้นจาก https://newskm.moi.go.th

ฐิติวดี ธรรมเจริญ, วันชัย เลิศวัฒนวิลาศ, และธานี แก้วธรรมานุกูล. (2562). ทัศนคติ บรรทัดฐาน กลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจในการป้องกันการติดเชื้อโรค ทางเดินหายใจตะวันออกกลางของพยาบาลวิชาชีพ. พยาบาลสาร, 46(3), 14-24.

สภาการพยาบาล. (2561). ประกาศเรื่องนโยบายสภาการพยาบาลเกี่ยวกับกำลังคนในทีมการ พยาบาล ณ วันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561. สืบค้นจาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/003(1).pdf

สุรางคินี วนวงศ์ไทย, และสุวิณี วิวัฒน์วานิช. (2558). การพัฒนาขอบเขตเนื้อหาการส่งเสริมภาวะผู้นำในการจัดการสาธารณภัยของพยาบาล. วารสารบรมราชชนนี กรุงเทพ, 31(3), 62-73.

American Organization for Nursing Leadership. (2017). Role of the nurse leader in crisis management. Retrieved from https://www.aonl.org/role-nurse-leader-crisis-management

Holge-Hazelton, B., Kjerholt, M., Elizabeth, R., Thesturp, S., Zacho Borre, L., & McCormack, B. (2021). Health professional frontline leaders’ experiences during the COVID-19 pandemic: A cross-sectional study. Journal of Healthcare Leadership, 15(18), 7-18.

Joost, H., Benedetta, A., & Shaheen, M., (2020). Managing COVID-19 in low- and middle- income countries. JAMA, 323(16). doi:10.1001/jama.2020.4169

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30