ประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนเสริมออนไลน์ เพื่อเตรียมสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต่อผลคะแนนในรายวิชาผดุงครรภ์

ผู้แต่ง

  • มนัสชนกฑ์ กุลพานิชย์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พัทธวรรณ ชูเลิศ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • อ้อมใจ พลกายา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • รุจา แก้วเมืองฝาง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสอนเสริมออนไลน์, การสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์, การผดุงครรภ์

บทคัดย่อ

จากจำนวนผลผู้สำเร็จการศึกษาที่สอบผ่านวิชาการผดุงครรภ์ในการสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ยังอยู่ในระดับต่ำ และสถานการณ์โรคระบาดที่ต้องปรับกิจกรรมการสอนตามหลักสูตรและการสอนเสริมเป็นแบบออนไลน์ งานวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ของผู้เข้าร่วมวิจัยที่ได้รับการสอนด้วยโปรแกรมปกติ ร่วมกับโปรแกรมการสอนเสริมออนไลน์สำหรับการเตรียมความพร้อมการสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รายวิชาการผดุงครรภ์ (The Online Program for Professional Nursing and Midwifery Licensing Examination in Midwifery  [TOP-NM]) และผู้ที่ได้รับการสอนโดยโปรแกรมปกติเพียงอย่างเดียว และ 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ดังกล่าวของผู้เข้าร่วมวิจัยในกลุ่มทดลองก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ผู้เข้าร่วมวิจัย คือ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 ของวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคกลาง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ กลุ่มละ 48 คน ทั้งสองกลุ่มได้รับการสอนเสริมด้วยโปรแกรมปกติก่อนที่กลุ่มทดลองจะได้รับการสอนเพิ่มเติมด้วยโปรแกรม TOP-NM เครื่องมือการวิจัย ได้แก่  โปรแกรม TOP-NM แบบทดสอบความรู้ก่อน-หลังจากการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และค่าสถิติทดสอบที ผลวิจัยพบว่า หลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้สูงขึ้น (t(47)= - 21.42, p < .001, d = 4.66) และสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(94)= 24.05, p < .001, d = 4.91) โปรแกรม TOP-NM ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมโปรแกรมมีความรู้ในวิชาการผดุงครรภ์มากขึ้น จึงควรพัฒนาโปรแกรมการสอนออนไลน์ในทุกรายวิชา เพื่อเตรียมความพร้อมในการสอบใบประกอบวิชาชีพในสถานการณ์ที่จำเป็นหรือเหมาะสมที่จะต้องจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์

References

กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานสถานการณ์ โควิด-19. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ครองช่าง.

คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ. (2563). มาตรฐานและแนวทางการดำเนินการเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/im_commands/im_commands06.pdf

ธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล, จันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณี, จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร, มัตถก ศรีคล้อ, อุไร นิโรธนันท์, และจิตรลดา ศรีสารคาม. (2560). ผลของการเตรียมความพร้อมเพื่อสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต่อความพร้อมและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ, 33(2), 43-53.

นงณภัทร รุ่งเนย, ณัฐพร อุทัยธรรม, กฤษณา หงส์ทอง, และสถาพร แถวจันทึก. (2559). ประสบการณ์การพัฒนาตนเองเพื่อสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของผู้ที่สำเร็จการศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารกองการพยาบาล, 43(3), 76-91.

นวรัตน์ โกมลวิภาต, และน้ำอ้อย ภักดีวงศ์. (2558). การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์รายวิชา BNS 408 กฎหมายและจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับการเตรียมความพร้อมในการสอบขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและผดุงครรภ์. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 4(1), 7-17.

น้ำฝน ไวทยวงศ์กร, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, และรัชนี ชุนเกาะ. (2562). การพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้รูปแบบแอปพลิเคชันในการพยาบาลมารดาหลังคลลอด สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสารธารณสุขภาคใต้, 6(3), 53-68.

พรทิพา ทักษิณ, ศุกร์ใจ เจริญสุข, และอุบล สุทธิเนียม. (2554). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเตรียมความพร้อม และผลสอบขึ้นทะเบียนและรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาล และการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง ของผู้สำเร็จการศึกษาของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชลบุรี. วารสารสภาการพยาบาล, 26(3), 117-129.

เรณู พุกบุญมี. (2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในยุค Thailand 4.0. สืบค้นจาก https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช. (2562). รายงานการประชุมฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา ครั้งที่ 8/2562. (เอกสารไม่ได้ตีพิมพ์). ฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช.

วิภาดา คุณาวิกิตกุล, อารีวรรณ กลั่นกลิ่น, รัตนาวดี ชอบตะวัน, และสุปราณี อัทธเสรี. (2012). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการสอบขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์. วารสารสภาการพยาบาล, 27(3), 11-28.

วิโรจน์ ฉิ่งเล็ก, อัจฉรา ศรียะศักดิ์, วารุณี เกตุอินทร์, และสุวรรณี แสงอาทิตย์. (2555). การทดสอบประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย เรื่อง “การพยาบาลโรคหัวใจในเด็ก” สำหรับผู้เรียนพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 6(2), 21- 29.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2544). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บุญศิริการพิมพ์.

สภาการพยาบาล. (2540). พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540. สืบค้นจาก https://www.tnmc.or.th/images/userfiles/files/11111.PDF

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2561). นวัตกรรม การเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค, และอรทัย เหรียญทิพยะสกุล. (2561). ประสิทธิผลของการใช้สื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ รายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่เพื่อการเตรียมตัวสอบขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา, 24(2), 117-129.

สุพัตรา จันทร์สุวรรณ, สุภาวดี นพรุจจินดา, และอุมากร ใจยั่งยืน. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับผลการสอบขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ชั้นหนึ่ง บัณฑิตวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(2), 81-92.

สุรชาติ อาจทรัพย์, ศิรประภา ขันคำ, และอภิภู สิทธิภูมิมงคล. (2558). การศึกษาประสิทธิผลผลการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Moodle สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา (กรณีศึกษาวิชา วกกฬ 217 การนำเสนอสารสนเทศทางการกีฬา ปีการศึกษา 2556). วารสารการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, 2, 81-89.

อนุรี ชาญธวัชชัย, และมนสภรณ์ วิทูรเมธา. (2560). ผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมการสอบใบประกอบวิชาชีพการพยาบาลในรายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และการพยาบาลผู้สูงอายุและความพึงพอใจที่มีต่อโปรแกรมการเตรียมของผู้เรียนพยาบาล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, 11(1), 92-106.

EllenSmith, M. G., Dreher, H. M., & Schreiber, J. (2019). Standardized testing in nursing education: Preparing students for NCLEX-RN and practice. Journal of Professional Nursing, 35(6), 440-446. doi: https://doi.org/10.1016/j.profnurs.2019.04.012

Knowles, M. S. (1980). The modern practice of adult education: From pedagogy to andragogy. New York: The Adult Education Company.

Mondeik, S. L. (2014). Impact of professional nursing tutors on national council licensure examination success. Retrieved from https://www.proquest.com/openview/e1b7a2621cceceb96ec66cc7ebca9f4c/1?pq-origsite=gscholar&cbl=18750&diss=y

Palancia, C. E., & Sullivan, K. (2020). Maintaining clinical continuity through virtual simulation during the COVID-19 pandemic. Journal of Nursing Education, 59(9). https://doi.org/10.3928/01484834-20200817-09

Roskvist, R., Eggleton, K., & Goodyear-Smith, F. (2020). Provision of e-learning programmes to replace undergraduate medical students’ clinical general practice attachments during COVID-19 stand-down. Education for Primary Care: An official publication of the association of course organisers, National Association of GP Tutors, World Organisation of Family Doctors, 31(4), 247-254. doi: 10.1080/14739879.2020.1772123

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30