การเห็นคุณค่าในตนเอง ความแข็งแกร่งในชีวิต และภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
การเห็นคุณค่าในตนเอง, ความแข็งแกร่งในชีวิต, นักศึกษาพยาบาล, ภาวะซึมเศร้าบทคัดย่อ
นักศึกษาพยาบาลมีแนวโน้มในการเกิดภาวะซึมเศร้าได้ แต่การศึกษาภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลยังมีจำนวนจำกัด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยพรรณนาเชิงสหสัมพันธ์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นนักศึกษาที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีในวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 275 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และแบบประเมินความแข็งแกร่งในชีวิต ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก เท่ากับ .87, .86 และ .91 ตามลำดับ เก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สถิติการทดสอบแบบครัสคัล วอลลิส และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาพยาบาล ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 95.27) ไม่มีภาวะซึมเศร้า และเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับมากและมากที่สุด (ร้อยละ 62.50) อย่างไรก็ตามยังมีนักศึกษาบางส่วน (ร้อยละ 4.73) ที่กำลังประสบกับภาวะซึมเศร้าและเป็นกลุ่มที่มีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองอยู่ในระดับน้อยและปานกลาง นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่า คะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองและคะแนนความแข็งแกร่งในชีวิตมีความสัมพันธ์ทางลบกับคะแนนภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rs(275) = -.707, p < .001; rs(275) = -.509, p < .001) ตามลำดับ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่านักศึกษาพยาบาลที่มีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองและมีความแข็งแกร่งในชีวิตสูง มีโอกาสในการเกิดภาวะซึมเศร้าได้น้อย ดังนั้นควรออกแบบการเรียนการสอนที่เสริมสร้างทักษะการเห็นคุณค่าในตนเอง และการพัฒนาความแข็งแกร่งในชีวิตให้กับนักศึกษาพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดภาวะซึมเศร้า
References
กชกร แก้วพรหม, และชนกฤทัย ชื่นอารมณ์. (2556). การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 31(4), 128-135.
กาญจนา วันนา, นุจรี ไชยมงคล, และพิชามญชุ์ ปุณโณทก. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุขของนักศึกษาพยาบาลในมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 18(34), 97-108.
กรมสุขภาพจิต. (2563). กราฟแสดงอัตราการฆ่าตัวตายแยกตามช่วงอายุ ประจำปี 2562. สืบค้น 24 กันยายน 2563, จาก https://dmh.go.th/report/suicide/viewg1.asp?id=28
ณภัทรารัตน์ ขาวสะอาด, มณี อาภานันทิกุล, และพรรณวดี พุทธวุฒนะ. (2556). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสุขของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาล, 28(1), 19-33.
ดวงใจ วัฒนสินธุ์, สิริพิมพ์ ชูปาน, และภาคิณี เดชชัยยศ. (2562). การแก้ปัญหาทางสังคมและภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 29(1), 87-99.
นงพิมล นิมิตอานันท์, และทินกร จังหาร. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อวิชาชีพพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพและพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน. วารสารพยาบาลทหารบก, 13(2), 60-71.
นุชนาถ แก้วมาตร. (2556). นักศึกษาพยาบาลกับภาวะซึมเศร้า. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 21(3), 14-23.
นุชนาถ แก้วมาตร, ชนัดดา แนบเกสร, และจันทนา เกิดบางแขม. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของนิสิตพยาบาล มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 19(6), 83-95.
นาตยา วงศ์หลีกภัย. (2532). ผลของกลุ่มจิตสัมพันธ์ที่มีต่อการเห็นคุณค่าในตนเองของวัยรุ่น (รายงานผลงานวิจัย). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นฤมล สมรรคเสวี, และโสภิณ แสงอ่อน. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 29(3), 11-27.
บังอร สุปรีดา. (2546). ผลของการปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มตามแนวคิดพิจารณาความเป็นจริง ต่อการเห็นคุณค่าในตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ด้านสุขภาพจิตของผู้เสพติดยาบ้า (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
เปรมฤดี ศรีวิชัย, และพิมพิมล วงศ์ไชยา. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง ความเครียด และภาวะซึมเศร้าของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา. วารสารสภาการพยาบาล, 27(4), 57-68.
พรภิมล เพ็ชรกุล, และพัชรบูรณ์ ศรีวิชัย. (2563). ความเครียด ภาวะซึมเศร้า และวิธีจัดการความเครียดของนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดพะเยา. วารสารจิตวิทยาคลินิก, 51(1), 1-14.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และทัศนา ทวีคูณ. (2555). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความแข็งแกร่งในชีวิตในนักศึกษาพยาบาลศาสมหาบัณฑิต. วารสารพยาบาล, 61(2), 18-27.
พัชรินทร์ นินทจันทร์, โสภิณ แสงอ่อน, และจริยา วิทยะศุภร. (2556). ปัจจัยทํานายความแข็งแกร่งในชีวิตในนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 32(1), 150-167.
ภัคจิรา ภูสมศรี. (2563). โรคซึมเศร้าปัญหาสุขภาพใกล้ตัว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเซีย, 14(2), 51-58.
มาโนช หล่อตระกูล, และปราโมทย์ สุคนิชย์. (2558). จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์วิจัยและสารสนเทศโรคซึมเศร้า กรมสุขภาพจิต. (2563). รายงานการเข้าถึงบริการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ปีงบประมาณ 2563. สืบค้น 24 กันยายน 2563, จาก https://www.thaidepression.com/www/report/main_report/pdf/ahb-08-20_mix_HDC.pdf
แสงเทียน ธรรมลิขิต, และสิริรัก สินอุดมผล. (2562). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วารสารเกื้อการุณย์, 26(1), 55-75.
อุมาพร ตรังคสมบัติ, วชิระ ลาภบุญทรัพย์, และปิยลัมภร หะวานนท์. (2540). การใช้ CES-D ในการคัดกรองภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 42(1), 2-13.
Grotberg, E. (2003). Resilience for today: Gaining strength from adversity. Westport, CT: Praeger.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Radloff, L. S. (1977). The CES-D scale: A self-report depression scale for research in the general population. Applied Psychological Measurement, 1(3), 385-401.
Ross, R., Wolf, L., Chiang-Hamisko, L., Tanaka, T., Takeo, K., Boonyanurak, P., . . . Saenyakul, P. (2014). Depression and its predictors among nursing students in four countries: USA, Thailand, Taiwan and Japan. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 15(3), 195-201.
Ross, R., Zeller, R., Srisaeng, P., Yimmee, S., Somchid, S., & Sawatphanit, W. (2005). Depression, stress, emotional support, and self-esteem among baccalaureate nursing students in Thailand. International Journal Nursing Education Scholarship, 2, Article25. doi:10.2202/1548-923x.1165
Santos, J. C., Bashaw, M., Mattcham, W., Cutcliffe, J. R., & Vedana, K. G. G. (2018). The Biopsychosocial Approach: Towards Holistic, Person-Centred Psychiatric/Mental Health Nursing Practice. In J. C. Santos, & J. R. Cutcliffe (Eds.), European Psychiatric/Mental Health Nursing in the 21st Century: A Person-Centred Evidence-Based Approach (pp. 89-101). Cham: Springer International Publishing.
Tosangwarn, S., Clissett, P., & Blake, H. (2017). Psychometric properties of the Thai Internalised Stigma Scale (TIS-LCH) for care home residents. Clinical Gerontologist, 40(5), 362-368.
World Health Organization. (2020). Depression. Retrieved October 24, 2020, from
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว