ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ในมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรคนแรก
คำสำคัญ:
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว, การสนับสนุนจากครอบครัว, มารดาวัยรุ่นบทคัดย่อ
การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นวิธีการให้อาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่คือการสนับสนุนจากครอบครัว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนในมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรคนแรก ผู้เข้าร่วมการวิจัยเป็นมารดาอายุระหว่าง 10-19 ปี และสมาชิกครอบครัวที่มารับบริการฝากครรภ์และคลอดบุตร ณ โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคกลาง จำนวน 60 ราย คัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนด และสุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่มทดลอง (จำนวน 30 คน) ได้รับโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัว กลุ่มเปรียบเทียบ (จำนวน 30 คน) ได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือประกอบด้วยโปรแกรมการมีส่วนร่วมของครอบครัว แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบบันทึกการให้อาหารของทารก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่าร้อยละของมารดาที่เข้าร่วมโปรแกรม (ร้อยละ36.7)สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวจนครบ 6 เดือน มีจำนวนมากกว่ามารดาที่ได้รับการดูแลตามปกติ (ร้อยละ 23.3) แต่ไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ ที่ p > .05 อย่างไรก็ตามมารดาที่เข้าร่วมโปรแกรมมีโอกาสเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน มากเป็น 1.92 เท่าของมารดาที่ได้รับการพยาบาลปกติ (OR = 1.92; p = .263, 95% CI = [.147–1.396]) สรุปได้ว่าการมีส่วนร่วมของครอบครัวสามารถช่วยเพิ่มโอกาสการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรคนแรกได้ แต่การนำไปประยุกต์ใช้ควรปรับเพิ่มระยะเวลาหรือจำนวนครั้งของโปรแกรมให้มากขึ้น
References
กรรณิการ์ กันธะรักษา, และปรียกมล เลิศตระการนนท์. (2558). ทฤษฎีพฤติกรรมที่มีการวางแผนกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่. พยาบาลสาร, 42(2), 169-176.
ชญาภา ชัยสุวรรณ, ทัศนี ประสบกิตติคุณ, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, และสุดาภรณ์ พยัคฆเรือง. (2555). อำนาจการทำนายของการสนับสนุนจากสามี ย่ายาย และพยาบาลต่อระยะเวลาในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว. วารสารพยาบาลศาสตร์, 30(1), 70-80.
นภา ศรีทองใบ, วรรณี เดียวอิศเรศ, และตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี. (2560). ประสิทธิผลของโปรแกรมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของหญิงตั้งครรภ์แรก. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 42(1), 27-34.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2561). การสนับสนุนของครอบครัวต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่นหลังคลอด. Journal of Community Development Research (Humanities and Social Sciences), 11(4), 1-9.
ศิริวรรณ แสงอินทร์, ณิชากร ชื่นอารมณ์, และรุจิรา เฉิดฉิ้ม. (2563). ปัจจัยทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารพยาบาลศาสตร์, 38(3), 22-34.
สุภัสสร เลาะหะนะ, นิตยา สินสุกใส, และวรรณา พาหุวัฒนกร. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 4 สัปดาห์ ในมารดาวัยรุ่นที่มีบุตรคนแรก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี กรุงเทพ, 34(2). 36-47.
อัญญา ปลดเปลื้อง, อัญชลี ศีจันทร์, และสัญญา แก่วประพาฬ. (2559). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่โดยการสนับสนุนของครอบครัว ต่อความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาหลังคลอด. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 41-52.
อุษา วงศ์พินิจ, นิตยา สินสุกใส, และฉวีวรรณ อยู่สําราญ. (2559). ปัจจัยส่วนบุคคล การสนับสนุนทางสังคม และประสิทธิภาพการดูดนมของทารกก่อนจำหน่าย ในการทำนายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 1 เดือน ในมารดาที่มีบุตรคนแรก. วารสารพยาบาลทหารบก, 17(1), 88-95.
Ajzen, I. (1991). The theory of planned behavior. Organization Behavior and Human Decision Process, 50, 179-211.
Giles, M., Connor, S., McClenahan, C., & Mallet, J. (2010). Attitude to breastfeeding among adolescents. Journal of Human Nutrition and Dietetics, 23, 285-293.
Jintrawet, U., Tongsawas, T., & Somboon, L. (2014). Factors associated with the duration of exclusive breastfeeding among postpartum mothers. Nursing Journal, 41(1), 133-144.
Kramer, M. S., & Kakuma, R. (2012). Optimal duration of exclusive breastfeeding. Cochrane Database Systematic Review, 15(8).
Leclair, E., Robert, N., Sprague, A. E., & Fleming, N. (2015). Factors associated with breastfeeding initiation in adolescent pregnancies: A cohort study. Journal of Pediatric and Adolescent Gynecology, 28, 516-521.
Puapompong, P., Raungrongmorakot, K., Manolerdtewan, W., Ketsuwan, S., & Wongsin, S. (2014). Teenage pregnancy and exclusive breastfeeding rates. Journal of Medical Association of Thailand, 97(9), 893-898.
Supannee, K., & McGrath, J. M. (2015). An integrative review of factors influencing breastfeeding in adolescent mothers. Journal of Perinatal Education, 24(2), 119-127.
Sriwichai, P., & Suriyachai, P. (2015). The success of the exclusive breastfeeding among teenage mothers in the first 6 months after birth at Phayao Hospital. Journal of Phrapokklao Nursing College, 26(1), 17-24.
UNICEF Thailand. (2016). Multiple indicator cluster survey of children and women in Thailand 2015-2016. Bangkok: UNICEF Office for Thailand.
World Health Organization. (2013). Breastfeeding-exclusive breastfeeding. Retrieved from http://www.who.int/features/facfiles/breastfeeding/en/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว