ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพต่อการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ในสตรีตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยง

ผู้แต่ง

  • ทัศนีวรรณ กรุงแสนเมือง
  • สมพร วัฒนนุกูลเกียรติ

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ, เบาหวานขณะตั้งครรภ์, สตรีตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

การศึกษาการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่จำเพาะต่อสตรีตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational diabetes mellitus [GDM]) ในประเทศไทยยังมีจำนวนจำกัด การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มเปรียบเทียบนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior Promotion Program [the HBPP]) ต่อพฤติกรรมสุขภาพและการเกิด GDM ของสตรีตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าว ผู้เข้าร่วมการวิจัยจำนวน 108 ราย สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบด้วยการสุ่มแบบเป็นชั้นและแบ่งเป็นกลุ่มย่อยในแต่ละชั้นตามปัจจัยเสี่ยงที่กำหนด กลุ่มเปรียบเทียบ (53 ราย) ได้รับการดูแลตามมาตรฐาน ส่วนกลุ่มทดลอง (55 ราย) ได้รับการดูแลตามมาตรฐานร่วมกับ the HBPP เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อ GDM (α = .83) และแบบบันทึกข้อมูลสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติไคสแควร์ และสถิติทดสอบที ผลการศึกษาพบว่า หลังจากเข้าร่วมโปรแกรมสตรีตั้งครรภ์มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(54) = 12.213, p < .001, d = 0.88) โดยคะแนนดังกล่าวสูงกว่าคะแนนของกลุ่มเปรียบเทียบ (t(106) = 4.861, p < .01, d = 0.86) นอกจากนี้ยังพบว่าสตรีตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโปรแกรมมีสัดส่วนการมีน้ำหนักตัวเพิ่มขณะตั้งครรภ์ตามเกณฑ์สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ (X2(1, N = 108) = 3.077,  p = .039) แต่มีสัดส่วนการเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์น้อยกว่า (X2(1, N = 108) = 4.102, p = .021) จึงสรุปได้ว่าโปรแกรมนี้ส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อ GDM มีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม มีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์  และช่วยลดโอกาสเกิด GDM ได้ จึงควรนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพสตรีตั้งครรภ์ในกลุ่มนี้ต่อไป

References

ทิศนา แขมมณี. (2554). ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ: ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ธรรมพจน์ จีรากรภาสวัฒน์. (2559). โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus). สืบค้นจาก http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn//index.php?option=com_ content&view=article&id=1197gestationaldiabetes-mellitus&catid=45topicreview&Itemid=561

นัจภัค มีอุสาห์. (2557). การจัดการเรียนรู้แบบสาธิต. สืบค้นจาก http:// www.mct.rmutt.ac.th/km/?p=1427

ปิยะนันท์ ลิมเรืองรอง, ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร, อภิธาน พวงศรีเจริญ, และอรวรรณ พินิจเลิศสกุล. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ในสตรีตั้งครรภ์ที่ Glucose Challenge Test ผิดปกติ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 34(2), 58-69.

ประภัทร วานิชพงษ์พันธุ์. (2560). บทบาทพยาบาลในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์. กรุงเทพฯ: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2555). การตรวจคัดกรองเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์. แนวทางเวชปฏิบัติของราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย. 169-184. สืบค้นจาก http://www.rtcog.or.th/home/cpg/1380/

ราตรี พลเยี่ยม, และสมพร วัฒนนุกูลเกียรติ. (2558). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้อย่างมีแบบแผนตามความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 22(1), 77-92.

Becker, M. H., Maiman, L. A., Kirscht, J. P., Haefner, D. P., & Drachmman, R. H. (1977). The health belief model and prediction of dietary compliance: A field experiment. Journal of Health and Social Behavior, 18(4), 348 – 366.

Carolan, M., Davey, M. A., Biro, M. A., & Kealy, M. (2012). Maternal age, ethnicity and gestational diabetes mellitus. Midwifery, 28(6), 778–783.

Cho, G. J., Park, J. H., Lee, H., Yoo, S., Shin, S. A., & Oh, M. J. (2016). Pre pregnancy factors as determinants of the development of diabetes mellitus after first pregnancy. The Journal of Clinical Endocrinology and Metabolism, 101(7), 2923–2930.

Erem, C., Kuzu, U. B., Deger, O., & Can, G. (2015). Prevalence of gestational diabetes mellitus and associated risk factors in Turkish women: The Trabzon GDM Study. Archives of Medical Science, 11 (4), 724-735.

Farrar, D., Simmonds, M., Bryant, M., Lawlor, D. A., Dunne, F., Tuffnell, D., . . . Sheldon, T. A. (2017). Risk factor screening to identify women requiring oral glucose tolerance testing to diagnose gestational diabetes: A systematic review and meta-analysis and analysis of two pregnancy cohorts. PLoS ONE, 12(4), e0175288.

Grewal, E., Kansara, S., Kachhawa, G., Ammini, A. C., Kriplani, A., Aggarwal, N., . . . Rajesh, K. (2012). Prediction of gestational diabetes mellitus at 24 to 28 weeks of gestation by using first-trimester insulin sensitivity indices in Asian Indian subjects. Metabolism Clinical and Experimental, 61(5), 715-720.

International Diabetes Federation. (2017). World diabetes day 2017. Retrieved from https://www.idf.org/youngleaders/leaders/profile/218?language =zh-hans

Kanthiya, K., Luangdansakul, W., Wacharasint, P., Prommas, S., & Smanchat, B. (2013). Prevalence of gestational diabetes mellitus and pregnancy outcomes in women with risk factors diagnosed by IADPSG Criteria at Bhumibol Adulyadej Hospital. Thai Journal of Obstetrics and Gynaecology, 21(4), 141-149.

Khiyali, Z., Manoochri, M., Jeihooni, A. K., Heydarabadi, A. B., & Mobasheri, F. (2017). Educational intervention on preventive behaviors on gestational diabetes in pregnant women: Application of health belief model. International Journal of Pediatrics, 5(5), 4821-4831.

Koivusalo, S., Rono, K., Klemetti, M. M., Roine, R. P., Linndstrom, J., Erkkola, M., . . . Beata, S. L. (2016). Gestational diabetes mellitus can be prevented by lifestyle intervention: The Finnish gestational diabetes prevention study (RADIEL). Diabetes Care, 2016(39), 24-30.

Kolu, P., Raitanen, J., Rissanen, P., & Luoto, R. (2012). Health care costs associated with gestational diabetes mellitus among high-risk women – results from a randomized trial. Retrieved from http://www.biomedcentral.com/1471-2393/12/71

Lee, J., Ouh, Y., Ahn, K. H., Hong, S. C., Oh, M. J., Kim, H. J., . . . Cho, G. J. (2017). Preeclampsia: A risk factor for gestational diabetes mellitus in subsequent pregnancy. PLoS ONE, 12(5), e0178150.

O’Dwyer, V., Farah, N., Hogan, J., O’Connor, N., Kennelly, M. M., & Turner M. J. (2012). Timing of screening for gestational diabetes mellitus in women with moderate and severe obesity. Acta Obstetriciaet Gynecologica Scandinavica, 91(4), 447-451.

Plasencia, W., Garcia, R., Pereira, S., Akolekar R., & Nicolaides, K. H. (2011). Criteria for screening and diagnosis of gestational diabetes mellitus in the first trimester of pregnancy. Fetal Diagnosis and Therapy, 30(2), 108-115.

Wang, S., Ma, J. M., & Yang, H. X. (2015). Lifestyle intervention for gestational diabetes mellitus prevention: A cluster-randomize controlled study. Science Direct, 2015(1), 169-174.

Wendland, E. M., Torloni, M. R., Falavigna, M., Trujillo, J., Dode, M. A., Campos, M. A., . . . Maria, I. S. (2012). Gestational diabetes and pregnancy outcomes – a systematic review of the World Health Organization (WHO) and the International Association of Diabetes in Pregnancy Study Groups (IADPSG) diagnostic criteria. BMC Pregnancy and Childbirth, 12(23), 1 -13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30