ผลของโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนต่อความรู้ในการป้องกันโรคซิฟิลิส ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น

ผู้แต่ง

  • ธนิดา ทีปะปาล
  • เกศราภรณ์ บุญรอด
  • เกศินี ศักดิ์ภักดีเจริญ
  • เกษสุดา ไกรวงษ์
  • ขวัญฤทัย แช่มไล่
  • จันทิมา สังข์กล่ำ
  • จินต์จุฑา เหล่าบัณฑิต
  • จิรนันท์ ตุมประธาน
  • จุฑารัตน์ อ่อนทอง

คำสำคัญ:

ความรู้ในการป้องกันโรคซิฟิลิส, โปรแกรมสุขภาพในโรงเรียน, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วัยรุ่น

บทคัดย่อ

โรคซิฟิลิสเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อันตรายที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของวัยรุ่น ซึ่งสาเหตุหลักอาจเกิดจากการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมและขาดความเข้าใจเรื่องเพศศึกษา การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียนต่อความรู้ในการป้องกันโรคซิฟิลิสของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้มีส่วนร่วมการวิจัยเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัด
สุราษฎร์ธานี จำนวน 43 คน  ซึ่งได้รับการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมส่งเสริมความรู้ในการป้องกันโรคซิฟิลิส ประกอบด้วย 5 ฐานกิจกรรม คือ ฐานที่ 1 ความรู้เบื้องต้นและกิจกรรมสันทนาการ ฐานที่ 2 ปิงปองซ่าท้าซิฟิลิส ฐานที่ 3 วิ่งเปี้ยวเกี่ยวอาการ ฐานที่ 4 Have fun ป้องกันซิฟิลิส และฐานที่ 5 สรุปความรู้ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้ในการป้องกันโรคซิฟิลิสก่อนและหลังได้รับโปรแกรม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์เป็น .67 และ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ไคสแควร์ และสถิติทดสอบทีที่ประชากรสองกลุ่มไม่อิสระจากกัน ผลการศึกษา พบว่า คะแนนความรู้ในการป้องกันโรคซิฟิลิสหลังเข้าร่วมโปรแกรม  (M = 16.33, SD = 1.643) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M = 12.84, SD = 2.104) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่  p < .05 (t(42) = -8.911, p = .000, d = 0.28) ดังนั้นควรนำวิธีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์แก่วัยรุ่นที่เรียนในระดับชั้นต่าง ๆ ต่อไป

References

กรรัก ศรีเมือง, อนันต์ มาลารัตน์, และพรสุข หุ่นนิรันดร์. (2559). สภาพ ปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาเพื่อปลูกฝังพฤติกรรมป้องกันความเสี่ยงทางเพศแบบพุทธวิธี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ธรรมศาสตร์เวชสาร, 16(2), 253 – 262.

กรมควบคุมโรค. (2562). โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=30

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). รายงานการวิจัยเพื่อทบทวนเรื่องเพศศึกษาในโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย.

กุลภัสสรณ์ ศิริมนัสสกุล. (2560). รายงานการศึกษาสถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ด้านระบาดวิทยา และวิเคราะห์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินงาน บรรลุความสำเร็จต่อการลดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. สืบค้นจาก http://plan.ddc.moph.go.th/km2016/Documents/STI.pdf

จินตนา สรายุทธพิทักษ์. (2553). องค์ประกอบของโปรแกรมสุขภาพในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิชย์.

ชลดา อานี, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์, และประเสริฐศักดิ์ กายนาคา. (2559). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสร้างเสริมความรู้ทางสุขภาพโดยการจัดการเรียนรู้แบบใช้คำถามเพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดนนทบุรี. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 32(2), 137-143.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เทพเนรมิต.

นิตยา เพ็ญศิรินภา. (2557). สุขศึกษาและการประชาสัมพันธ์งานสาธารณสุข. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.

เบ็ญจมาศ โอฬารรัตน์มณี, และวีรยา จึงสมเจตไพศาล. (2560). ผลของการสอนเพศศึกษารอบด้านต่อความรู้และทักษะการสวมถุงยางอนามัยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ชั้นปีที่ 2. วารสารพยาบาลศาสตร์, 35(1), 48 – 60.

ปัญญ์กรินทร์ หอยรัตน์, และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2560). วัยรุ่นไทยกับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 28(2), 173 – 182.

พัชราวรรณ จันทร์เพชร, และฉัตรลดา ดีพร้อม. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 42(4), 92 – 101.

พอเพ็ญ ไกรนรา. (2556). ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการป้องกันการตั้งครรภ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 30(4), 274 – 286.

วัลยา ธรรมพนิชวัฒน์, และเบ็ญจมาศ โอฬารรัตน์มณี. (2561). เพศศึกษาสำหรับวัยรุ่นในโรงเรียน. วารสารสภาการพยาบาล, 33(3), 82-98.

ศริญญา เจริญศิริ, ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ, และยุวดี ลีลัคนาวีระ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในนักศึกษาชายของการศึกษานอกระบบโรงเรียน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 30(2), 14 – 25.

สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้. (2559). ครูแบบไหนวัยรุ่นชอบ. สืบค้นจากhttp://www.okmd.or.th/bbl/multimedia/292/

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. (2562). ยอดผู้ป่วยติดเชื้อซิฟิลิส. สืบค้นจากhttps://news.thaipbs.or.th/content/280699

สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. (2561). อัตราการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศ. สืบค้นจาก http://aidssti.ddc.moph.go.th/contents/view/7

สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. (2562). สาเหตุการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น. สืบค้นจาก http://aidssti.ddc.moph.go.th/contents/view/1633

สมจิตต์ สุพรรณทัสน์. (2559). กระบวนการสุขศึกษา กลยุทธ์แก้ไขปัญหา. วารสารสุขศึกษา,39(1),1 – 6.

World Health Organization. (2019). Sexual and reproductive health. Retrieved from http://www.who.int/reproductivehealth/topics/rtis/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30