ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม
คำสำคัญ:
ความกลัวการหกล้ม, ผู้สูงอายุ, โรคข้อเข่าเสื่อมบทคัดย่อ
ความกลัวการหกล้มทำให้ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมจำกัดกิจกรรมตนเอง ส่งผลให้ข้อติดแข็ง และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา การวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความกลัวการหกล้ม และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมในเขตบริการสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 146 ราย เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันตามดัชนีบาร์เธล การทดสอบการก้าวเดินและการทรงตัว แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย และแบบประเมินความกลัวการหกล้มฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการศึกษาพบว่า ความกลัวการหกล้มมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน (r(144) = .226, p = .013) แต่มีความสัมพันธ์ทางลบกับโรคประจำตัว ความสามารถในการทรงตัว และประสบการณ์การหกล้ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (rpb = -.310, p = .001; r(144) = -.307, p = .001, rpb = -.215, p = .018 ตามลำดับ) แสดงว่าผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดีจะไม่กลัวการหกล้ม ส่วนผู้ที่มีโรคประจำตัว ความสามารถในการทรงตัวไม่ดี และมีประสบการณ์การหกล้มมาก่อนจะมีความกลัวการหกล้ม ดังนั้นพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปเป็นแนวทางการป้องกัน และลดปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อความกลัวการหกล้มในผู้สูงอายุโรคข้อเข่าเสื่อม
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275
กลุ่มฟื้นฟูสมรรถภาพสมอง. (2537). แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย. สารศิริราช, 46(1), 1-9.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2562). สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2560. สืบค้นจาก http://www.bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/stratistics60.pdf
ข้อมูลและสถิติโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามใหญ่. (2562). ข้อมูลผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมปี พ.ศ.2562. อุบลราชธานี: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลขามใหญ่.
ธนภรณ์ พิพัฒน์วณิชชา, นัยนา พิพัฒน์วณิชชา, และพรชัย จูลเมตต์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการก้าวเดินและการทรงตัว ภาวะปลายประสาทเสื่อม และประสบการณ์การหกล้มกับความกลัวการหกล้มของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ (Proceedings) พะเยาวิจัยครั้งที่ 7 (หน้า 194-206). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ลลิดา ปักเขมายัง, นัยนา พิพัฒน์วณิชชา, และพรชัย จูลเมตต์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความกลัวการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์. ใน งานประชุมวิชาการ “แพทย์บูรพา”ครั้งที่ 5 (Proceeding) การแพทย์ก้าวไกลใน EEC. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิไลวรรณ ทองเจริญ. (2558). ศาสตร์และศิลป์การพยาบาลผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมบูรณ์ อินทลาภาพร. (2560). โรคข้อในผู้สูงอายุที่พบบ่อยในระดับปฐมภูมิ. ใน วีรศักดิ์ เมืองไพศาล (บรรณาธิการ). พฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุสำหรับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุขั้นต้น (หน้า 286-292). นนทบุรี: ภาพพิมพ์.
สุรีย์ ธรรมิกบวร, สุรสม กฤษณะจูฑะ, และปิ่นวดี ศรีสุพรรณ. (2561). วัฒนธรรมอีสานกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สถิติประชากรศาสตร์ ประชากรและเคหะ. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/05.aspx
Bandura, A. (1997). Self-efficacy thee exercise of control (4thed.). New York: W. H. Freeman.
Dore, A. L., Golightly, Y. M., Mercer, V. S., Shi, X. A., Renner, J. B., Jordan, J. M., & Nelson, A. E. (2015). Lower limb osteoarthritis and the risk of falls in a community-based longitudinal study of adults with and without osteoarthritis. Arthritis Care Research, 67(5), 633-639.
Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.
Jitapunkul, S., Lailert, C., Worakul, P., Srikiatkhachorn, A., & Ebrahim, S. (1996). Chula mental test: A screening test for elderly people in less developed countries. International Journal of Geriatric Psychiatry, 11(8), 715-720.
Jitapunkul, S., Kamolratanakul, S., Chandraprasert, S., & Bunnag, S. (1994). Disability among Thai elderly living in Klong Toey slum. Journal of the Medical Association of Thailand, 77(5), 231-238.
Ng, C. T., & Tan, M. P. (2013). Osteoarthritis and fall in the older person. Age and Ageing, 42, 561-566.
Piphatvanitcha, N. (2006). The effect of a fall prevention program on gait and balance of community-dwelling elders. Doctoral dissertation, Philosophy Program in Nursing Science, Faculty of Nursing. Bangkok: Chulalongkorn University.
Podsiadlo, D., & Richardson, S. (1991). The timed up and go: A test of basic functional mobility for frail elderly persons [Abstract]. Journal of the American Geriatrics Society, 39(2), 142-148.
Rosangela, C. D., Maria, T. F. F., Erika, G. S. S., Retana, A. V., Joao, M. D. D., & Monica, R. P. (2011). Characteristics associated with activity restriction induced by fear of fall in community-dwelling elderly. Brazilian Journal Physical Therapy, 15(5), 406-413.
Staff Development for Home Health Aide. (2013). Complication of immobility: Risk factor and effects. Effects of Immobility, 14(8), 1-5.
Tsonga, T., Michalopoulou, M., Kapetanakis, S., Giovannopoulou, E., Malliou, P., Godolias, G., & Soucacos, P. (2016). Risk factors for fear of falling in elderly patients with severe knee osteoarthritis before and one year after total knee arthroplasty. Journal Orthopedic Surgery, 24(3), 302-306.
Wong, R., Davis, A. M., Badley, E., Grewal, R., & Mohammed, M. (2010). Prevalence of arthritis and rheumatic diseases around the world a growing burden and implications for health care needs. Retrieved from http:// www.modelsofcare.ca/pdf/10-02.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว