องค์กรแห่งความสุข : คุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลจบใหม่

ผู้แต่ง

  • ลักขณา ศิรถิรกุล
  • บุญพิชชา จิตต์ภักดี
  • จารุวรรณ สนองญาติ

คำสำคัญ:

องค์กรแห่งความสุข, คุณภาพชีวิตการทำงาน, พยาบาลจบใหม่

บทคัดย่อ

องค์กรแห่งความสุขเป็นแนวคิดที่มุ่งดำเนินงานกับบุคคลซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่มีความสำคัญกับองค์กร โดยมีความเชื่อว่าเมื่อสมาชิกขององค์กรมีความสุข ย่อมส่งผลดีต่อผลผลิตขององค์กร และทำให้บุคคลเกิดความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กรมาก จึงมีการนำแนวคิดนี้มาเป็นแนวทางส่งเสริม และพัฒนานโยบายสร้างเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของคนทำงาน โดยเฉพาะกับสมาชิกใหม่ขององค์กรที่อยู่ในช่วงการปรับตัวเข้าสู่สิ่งแวดล้อมของการทำงาน เช่นเดียวกับพยาบาลจบใหม่ที่กำลังเปลี่ยนบทบาทจากนักศึกษาพยาบาลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ต้องรับผิดชอบมากขึ้น  จึงอาจทำให้เกิดความกลัวและวิตกกังวล มีความรู้สึกสับสนในบทบาทและไม่เข้าใจในระบบงาน บางคนต้องทำงานท่ามกลางความขัดแย้งหรือได้รับค่าตอบแทนต่ำ ส่งผลให้เกิดความเหนื่อยหน่ายท้อแท้ ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน อยากลาออก และคุณภาพของการบริการพยาบาลลดลง บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายสถานการณ์และคุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลจบใหม่ และนำเสนอแนวทางการสร้างองค์กรแห่งความสุขสำหรับพยาบาลจบใหม่ โดยอาศัยแนวคิดองค์กรแห่งความสุขในการพัฒนาองค์กร เพื่อให้พยาบาลจบใหม่มีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีและมีความสุข  และมีความผูกพันต่อองค์กร อันจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน

References

กฤษดา แสวงดี. (2560). วิกฤติขาดแคลนพยาบาลวิชาชีพในหน่วยบริการสุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: ข้อเสนอเชิงนโยบาย. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 26(2), 456-468.

กฤดิญาดา เกื้อวงศ์, และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2060). ความเครียดของพยาบาลจบใหม่ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤต. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(ฉบับพิเศษ), 158-165.

กอปรลาภ อภัยภักดิ์. (2563). บรรยากาศองค์กรแห่งความสุข: คนเบิกบาน งานสำเร็จ. วารสารมจรมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 315-331.

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์, และธีร์ธรรม วุฑฒิวัตรชัยแก้ว. (2559). องค์กรแห่งความสุข. กรุงเทพฯ: บริษัทแอทโฟร์พรินท์ จำกัด.

ทวีศักดิ์ วัดอุดม, และบุษบงก์ วิเศษพลชัย. (2563). การพัฒนารูปแบบองค์กรสร้างสุขของโรงพยาบาลชุมชน ในจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชการสาธารณสุข, 29(1), 122-130.

ทิพวัลย์ รามรง. (2557). สรรสาระองค์กรแห่งความสุขเล่ม 2: เรื่องดี ๆ ของความสุขในองค์กร. กรุงเทพฯ: บริษัท พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

นิสา ทมาภิรัต, และอารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2560). การเป็นพยาบาลจบใหม่ที่ปฏิบัติงานภายใต้การดูแลของพยาบาลพี่เลี้ยง. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(พิเศษ), 32-40.

บุญช่วย ศิลาหม่อม, วรรณี เดียวอิศเรศ, และ อารีรัตน์ ขำอยู่. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการคงอยู่ในงาน ของพยาบาลวิชาชีพ Generation Y โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง. Journal of Nursing and Health Care, 36(1), 62-71.

แผนงานสุขภาวะองค์กรเอกชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2552). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ. กรุงเทพฯ: บริษัท สองขาครีเอชั่น จำกัด.

ปัทมรังสี วารินทร์, ปรียานุช อภิบุณโยภาส, และสิริจินต์ วงศ์จารุพรรณ. (2561). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่องค์กรและคุณภาพการบริการของพยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ระหว่างโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช พอ. และโรงพยาบาลในเครือกอลทัพอากาศ. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(ฉบับพิเศษ), 89-97.

วิรัช สงวนวงศ์วาน, และณัฐณิชา ปิยปัญญา. (2560). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการเซาร์อีสท์บางกอก, 3(2), 77-99.

ศริยา ยังศิริ, และสุวิณี วิวัฒน์วานิช. (2562). ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลประจำการ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม. วารสารแพทย์นาวี, 46(2), 396-415.

ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, และจรัมพร โห้ลำยอง. (2556). คุณภาพชีวิต การทำงาน และความสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ธรรมดาเพรส จำกัด.

สิริพิมพ์ ชูปาน. (2561). พยาบาลวิชาชีพ Generation Y: ความท้าทายสำหรับผู้บริหารการพยาบาล. วารสารสมาคมศิษย์เก่าพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(1), 1-12.

สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล, ศรัญญา ต.เทียนประเสริฐ, และบุศรา กาญจนบัตร. (2563). สมรรถนะวิชาชีพด้านทักษะพิสัยของพยาบาลวิชาชีพที่สำเร็จการศึกษาใหม่. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(1), 69-77.

Wasantanarat, C. (2011). Work effectively people happy (healthy organization healthy productivity). Bangkok: Office of Health Promotion Fund.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30