บทบาทพยาบาลชุมชนในการดูแลผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง กับการลดการสัมผัสควันบุหรี่

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง
  • นฤมล เปรมาสวัสดิ์
  • กาญจนา ปัญญาธร

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, บทบาทพยาบาลชุมชน, การสัมผัสควันบุหรี่

บทคัดย่อ

การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุเป็นผลมาจากการละเลยการดูแลสุขภาพตั้งแต่อยู่ในวัยแรงงาน (อายุ 15-59 ปี) ปัญหาสุขภาพที่สะสมเป็นระยะเวลานานจะปรากฏชัดเจนเมื่ออายุมากขึ้น ปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 60 ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงและเกิดภาวะแทรกซ้อนเร็วขึ้นเนื่องจากสาเหตุสำคัญคือการสัมผัสควันบุหรี่ สารนิโคตินและสารพิษอื่น ๆ ในควันบุหรี่อาจจะทำให้ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ ทั้งนี้ความรุนแรงของโรคและภาวะแทรกซ้อนขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษในควันบุหรี่ที่ผู้สูงอายุได้รับจากการสูบบุหรี่หรือจากการสูดดมควันบุหรี่ที่ผู้อื่นสูบเข้าสู่ร่างกาย ทั้งจากที่บ้าน ที่ทำงานหรือที่สาธารณะอยู่เป็นประจำ ดังนั้นพยาบาลชุมชนควรมีบทบาทในการลดการสัมผัสควันบุหรี่ในผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วยการสร้างแรงจูงใจในการเลิกบุหรี่ การส่งเสริมให้ครอบครัวหรือคนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการช่วยเลิกบุหรี่ และการสร้างเครือข่ายในชุมชนเพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการลดการสัมผัสควันบุหรี่

References

กองโรคไม่ติดต่อ. (2563). จำนวนอัตราป่วย ตาย ปี 2559-2562. สืบค้นจาก http://www.thaincd.com /2016/mission/documents-detail.php?id=13893&tid=32 &gid=1-020

กรองจิต วาทีสาธกกิจ. (2552). ถนน ปชต การส่งเสริมการเลิกบุหรี่ในงานประจำ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่.

ฉันทนา แรงสิงห์. (2556). การดูแลวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ : บทบาทที่ท้าทายของพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 14(2), 17-24.

นงนุช บุญอยู่. (2541). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลิกหรือกลับมาสูบของผู้รับบริการอดบุหรี่ (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการส่งเสริมสุขภาพ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ทัศนา บุญทอง, ผ่องศรี ศรีมรกต, และสุรินธร กลัมพากร. (2551). บุหรี่กับสุขภาพ: บทบาทของพยาบาลต่อการสร้างสังคมไทยปลอดบุหรี่. เชียงราย: กรรมการเครือข่ายพยาบาลเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย.

ประเสริฐ อัสสันตชัย. (2554). ปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ยูเนี่ยน ครีเอชั่น.

พัชรี รัศมีแจ่ม, ปริศนา อัครธนพล, และวนิดา ดุรงค์ฤทธิชัย. (2556). ปัจจัยทำนายก่อนภาวะความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุตำบลนาเกลือ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารการพยาบาลสาธารณสุข, 27(1), 102-114.

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่. (2555). ความดันโลหิตสูงต้องเลิกบุหรี่. สืบค้นจาก http://www.ashthailand.or.th/old/th/information

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุ. (2563). 8 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ. สืบค้นจากhttps://thaitgri.org/?p=39092

ศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ [ศจย.]. (2555). สรุปสถานการณ์การควบคุมการ

บริโภคยาสูบของประเทศไทย พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

สมพร สันติประสิทธิ์กุล, นุสรา นามเดช, และปริยศ กิตติธีระศักดิ์. (2555). บุหรี่กับสุขภาพ: พยาบาลกับการควบคุมการบริโภคยาสูบ หน่วยที่ 2 พิษภัยยาสูบต่อสุขภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เครือข่าย พยาบาลเพื่อควบคุมยาสูบแห่งประเทศไทย.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. (2555). คู่มือการให้ความรู้ เพื่อจัดการภาวะความดันโลหิตสูงด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

เสาวลักษณ์ ทาแจ้ง, และสมจิต แดนสีแก้ว. (2559). การเสริมสร้างพลังอำนาจผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพื่อลด

การสัมผัสควันบุหรี่. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 34 (4), 73-79.

สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

Berjer, D. (2012). The dangers of third-hand smoke in hotels. Lodging Hospitality, Retrieved from http://search.proquest.com/docview/916367890?accountid=27797

Centers for Disease Control and Prevention. (2010). A report of the Surgeon General: How tobacco smoke causes disease. Retrieved from http://www.cdc.gov/tobacco

Chobanian, A. V., Bakris, G. L., Black, H. R., Cushman, W. C., Green, L. A., Izzo, J. L., . . . Roccella, E. J. (2003). The seventh report of the joint national committee on prevention, detection, evaluation, and treatment of high blood pressure: The JNC 7 Report. JAMA, 289(19), 2560–2572. https://doi.org/10.1001/jama.289.19.2560

Georg, E. M. (2012). Overview: Defining third-hand smoke. Retrieved from http://otru.org/wp-content/uploads/2012/11/OTRU_THS_part2.pdf

Health Service Executive is Tobacco Control Framework. (2014). Brief intervention for smoking cessation national training programmer (2nd Edition). Retrieved from http://www.hse.ie/eng/about/Who/TobaccoControl/news/Briefreport.pdf

Kate, H., Tania, G., & Dan I., L. (2012). Motivational interviewing techniques: Facilitating behaviour change in the general practice setting. Australian Family Physician, 41(9). Retrieved from http://www.racgp.org.au/download/documents/ AFP/2012/September/201209hall.pdf

Öberg, M., Jaakkola, M. S., Prüss-Üstün, A., Schweizer, C., & Woodward, A. (2010). Second-hand smoke: Assessing the burden of disease at national and local levels, environmental burden of disease series, No. 18 (pp.1-59). Retrieved from https://www.who.int/quantifying_ehimpacts/publications/ebd18/en/

United Nations. (2019). 2019 UNIDOP Celebrates “The Journey to Age Equality”. Retrieved from https://www.un.org/development/desa/ageing/international-day-of-older-persons-homepage/2019unidop.html

World Health Organization. (2019). Hypertension. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30