ความต้องการจำเป็น และสมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักสื่อสารสุขภาพและนวัตกรรมสุขภาพในระบบสุขภาพของประเทศ
คำสำคัญ:
ความต้องการจำเป็น, สมรรถนะ, นักสื่อสารสุขภาพ, นวัตกรรมสุขภาพบทคัดย่อ
การสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพแก่ประชาชน จำเป็นต้องใช้บุคลากรสาธารณสุขที่มีทักษะและสมรรถนะเฉพาะ คือนักสื่อสารสุขภาพและนวัตกรรมสุขภาพ การผลิตบุคลากรสาขานี้จึงมีความสำคัญในระบบสุขภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของนักสื่อสารสุขภาพและนวัตกรรมสุขภาพ ตลอดจนศึกษาลักษณะงานและสมรรถนะที่พึงประสงค์ของนักสื่อสารสุขภาพและนวัตกรรมสุขภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารหน่วยงานบริการสุขภาพภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบการสุขภาพภาคเอกชน และนักสื่อสารสุขภาพ โดยคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 23 คน เก็บข้อมูลโดยสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรด้านการสื่อสารสุขภาพและนวัตกรรมสุขภาพ ยังมีความต้องการและมีความจำเป็นต่อระบบสุขภาพทั้งในภาครัฐและเอกชน 2) ลักษณะงานของนักสื่อสารสุขภาพ จะเป็นการสื่อสารให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพผ่านสื่อในช่องทางต่าง ๆ ที่ทันสมัย ดังนั้นสมรรถนะที่จำเป็น คือ ความใฝ่รู้ ความรอบรู้ในด้านสุขภาพ การรู้เท่าทันสื่อ ความคิดสร้างสรรค์ และการมีทัศนคติที่ดี 3) ลักษณะงานของนักนวัตกรรมสุขภาพ ควรเป็นงานที่มีเทคโนโลยีด้านสุขภาพในรูปแบบใหม่ หลากหลาย ดึงดูด เป็นที่ต้องการของตลาด มาใช้ในการดูแลสุขภาพ และมีสมรรถนะในการค้นคว้าหาความรู้ วิจัย ออกแบบเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และมีทัศนคติที่ดีต่อการบริการด้านสุขภาพ ดังนั้นบุคลากรด้านสื่อสารสุขภาพและนวัตกรรมสุขภาพ จึงมีส่วนสำคัญมากในการสื่อสารกับประชาชน เพื่อให้ความรู้และเกิดความรอบรู้ด้านสุขภาพ ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย สนองตอบต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
References
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). จำนวนสถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน จำแนกตามเขตบริการสุขภาพและประเภทสถานประกอบการ. สืบค้นจาก https://hss.moph.go.th/HssDepartment/img/pdf/spa00125630001.pdf
กองบริหารทรัพยากรบุคคล. (2562). แผนปฏิรูปกำลังคนและภารกิจบริการด้านสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: สื่อตะวัน.
คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. (2563). การขับเคลื่อน Health Literacy ในประเทศไทย. สืบค้นจาก http://doh.hpc.go.th/data/HL/HLMovementThailand.pdf
เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงษ์, วุฒิชัย เนียมเทศ, และณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(2), 208-222.
ประกาศ เรื่องยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580). (2561, 13 ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 135 ตอนที่ 83 ก. หน้า 1.
พนา ทองมีอาคม, และเพ็ญพักตร์ เตียวสมบูรณ์กิจ. (2551). การสื่อสารสุขภาพ: ประโยชน์และความจำเป็นของการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์และการบริหารด้านสุขภาพ. วารสารวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 12(2), 9-18.
พรพรรณ ประจักษ์เนตร. (2563). การสื่อสารสุขภาพในยุคดิจิทัล ทฤษฎี วิจัย และการปฎิบัติ. กรุงเทพฯ: คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
วิมล โรมา, สายชล คล้อยเอี่ยม, วรัญญา สุขวงศ์, ฐิติวัฒน์ แก้วอำดี, อัจฉรา ตันหนึ่ง, รุ่งนภา คำผาง, . . . รักมณี บุตรชน. (2562). การสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนไทย อายุ 15 ปี ขึ้นไป พ.ศ.2560 (ระยะที่ 2). นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
สุริยา ฟองเกิด, สุนันท์ สินซื่อสัตย์กุล, และสืบตระกูล ตันตลานุกูล. (2563). นวัตกรรมบริการสุขภาพ : บทบาทที่ท้าทายของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(2), 10-22.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2559). สกอ.พัฒนานักศึกษาสู่ Thailand 4.0. อนุสารอุดมศึกษา, 43(462), 10-11. สืบค้นจาก http://www.mua.go.th/prweb/pr_web/udom_mua/data/462.pdf
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). จำนวนหน่วยงานบริการสุขภาพ ในสังกัดสป.สธ. ปีงบประมาณ 2564. สืบค้นจาก https://phdb.moph.go.th/main/index/downloadlist/57/0
สำนักนโนบายและยุทธศาสตร์ กลุ่มข้อมูลทรัพยากรและมาตรฐานรหัสสุขภาพ. (2558). จำนวนสถานพยาบาลภาครัฐและเอกชน. สืบค้นจาก http://thcc.or.th/reporthcode.html
หนึ่งฤทัย ขอผลกลาง, และกิตติ กันภัย. (2553). งานวิจัยด้านการสื่อสารสุขภาพ: กลไกในการพัฒนาสังคม. วารสารเทคโนโลยีสุรนารีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ, 4(1), 65-77.
อมรรัตน์ เรืองสกุล, วรรณรัตน์ โรจนวิเชียร, ศักดิ์สิทธิ์ โรจนวิเชียร, สุวลักษณ์ ห่วงเย็น, จินตนา ตันสุวรรณนนท์, ขจิตขวัญ กิจวิสาละ, . . . วรภัทร จัตุชัย. (2562). แนวโน้มการพัฒนาหลักสูตรนิเทศศาสตร์เพื่อเข้าสู่ตลาดงานทางการสื่อสารในประเทศไทย. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, 15(3), 205-217.
Berkman, N. D., Davis, T. C., & McCormack, L. (2010). Health literacy: what is it? Journal of Health Communication, 15(S2), 9-19.
Kay, K., & Greenhill, V. (2011). Twenty-first century students need 21st century skills. In G. Wan, & D. M. Gut (Eds.), Bringing schools into the 21st century (pp. 41-65). New York: Springer, Dordrecht.
McClelland, D. C. (1973). Testing for competence rather than for Intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.
UNESCO Bangkok. (2009). Framework for 21st century learning. Retrieved from https://www.teacherrambo.com/file.php/1/21st_century_skills.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว