การพัฒนารูปแบบการป้องกันและการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนจังหวัดตรัง: การระบาดระลอกที่ 1
คำสำคัญ:
การป้องกันและควบคุม, การแพร่ระบาด, เชื้อไวรัสโคโรนา 2019, ชุมชนบทคัดย่อ
การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Corona Virus Disease 2019 [COVID-19]) ที่มีประสิทธิภาพจะลดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชน การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 ในชุมชนจังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่าง คือ หัวหน้าส่วนราชการระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับตำบล ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 15 คน และประชาชน จำนวน 372 คน เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และแบบสอบถามการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของประชาชนหลังจากที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ในชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ COVID-19 ในชุมชนมี 4 ระยะ ดังนี้ (1) การวางแผนเตรียมความพร้อมด้านความรู้ ด้านการแจ้งข่าวสาร ด้านเวชภัณฑ์ และด้านสถานที่ในการกักตัว (2) การปฏิบัติการตามแผน โดยคัดกรองผู้ที่เดินทางจากพื้นที่เสี่ยงที่ผ่านด่านเข้าเมือง แล้วส่งต่อข้อมูลไปยังพื้นที่ชุมชน รวมทั้งการเฝ้าระวังเชิงรุก (3) การประเมินกระบวนการและผลลัพธ์หลังการดำเนินการพบว่า ไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 เพิ่มในชุมชน และพบว่าประชาชนมีค่าเฉลี่ยการรับรู้เกี่ยวกับโรค COVID-19 ในภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก (M = 2.70, SD = 0.34) และมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับดี (M = 3.74, SD = 0.91) (4) การสะท้อนข้อมูล แสดงให้เห็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ความตระหนักและความร่วมมือของเครือข่าย การรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและทันเวลา และการเตรียมชุมชนทั้งก่อนและหลังเกิดโรคเพื่อเสริมความมั่นใจในเรื่องการอยู่ร่วมกันในชุมชน
References
กฤตย์ติวัฒน์ ฉัตรทอง. (2553). การพัฒนารูปแบบการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนนาชะอัง จังหวัดชุมพร (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
กิตติ วงศ์ปทุมทิพย์. (2561). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสซิกา อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 24(2), 59-67.
กรวิกา บวชชุม, ทิพย์ภา เชษฐ์เชาวลิต, วิลาวรรณ คริสต์รักษา, ปทิตตา ซุ้นซิ่ม, และสาวิณี จันทร์รัตน์. (2561). ผลของการให้ความรู้ในการคัดกรองโรคจิตต่อการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการคัดกรองโรคจิตของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 38(2), 33-41.
ธานี กล่อมใจ, จรรยา แก้วใจบุญ, และทักษิกา ชัชชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 29-39.
นภชา สิงห์วีรธรรม, วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, เฉลิมชัย เพาะบุญ, และสุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทันตาภิบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำราศนราดูร 2563, 14(2), 104-15.
นิดา มีทิพย์, เดชา ทำดี, และประพิมพ์ พุทธิรักษ์กุล. (2559). ผลของการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ต่อความรู้และการปฏิบัติการคัดกรองและการให้คำแนะนำโรคความดันโลหิตสูงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. พยาบาลสาร, 43, 104-115.
พิสิษฐ์กร โพธิ์ศรี, และพรทิพย์ คําพอ. (2555). การพัฒนาศักยภาพในการป้องกันและควบคุมวัณโรค โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน: ชุมชนเทศบาลตําบลสุวรรณภูมิ อําเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (บศ.), 12(2), 42 - 56.
พูลสินธุ์ พงษ์ประเทศ. (2550). การพัฒนาศักยภาพในการป้องกันโรคเอดส์ของนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น โดยเทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษา โรงเรียน มัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี (รายงานการวิจัย ไม่ได้ตีพิมพ์). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศูนย์ปฎิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/info.php
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง. (2564). รายงานประจำวันสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. สืบค้นจาก http://www.tro.moph.go.th/index2.php
Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed.). New Jersey: Prenticehall Inc.
Graneheim, H. U., & Lundman, B. (2004). Qualitative content analysis in nursing research: Concepts, procedures and measures to achieve trustworthiness. Nurse Education Today, 24, 105-112.
Kemmis, S., & Mc Taggart, R. (1988). The action research planner (3rd ed.). Victoria, editor. Australia: Deaken University Press.
Rosenstock, I. M. (1974). Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs, 2, 328-335.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publications.
World Health Organization, Thailand. (2020). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) รายงานสถานการณ์โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/2020-03-19-tha-sitrep-26-covid19-th-final.pdf?sfvrsn=5b88c757_0
Wu, Z., & McGoogan, J. M. (2020). Characteristics of and important lessons from the coronavirus disease 2019 (COVID-19) outbreak in China: Summary of a report of 72 314 cases from the Chinese Center for Disease Control and Prevention. Journal of the American Medical Association, 323, 1239–42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว