ประสบการณ์การเรียนรู้การพยาบาลผู้สูงอายุผ่านการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล
คำสำคัญ:
ประสบการณ์การเรียนรู้, การพยาบาลผู้สูงอายุ, การสะท้อนคิด, นักศึกษาพยาบาลบทคัดย่อ
การสะท้อนคิดสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการอธิบายประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาและผลกระทบที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา การสะท้อนคิดช่วยให้นักศึกษาพัฒนาความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้ การวิจัยเชิงคุณภาพนี้เป็นการวิเคราะห์เอกสาร (Documentary analysis) เพื่ออธิบายประสบการณ์การเรียนรู้การพยาบาลผู้สูงอายุผ่านการสะท้อนคิดของนักศึกษาพยาบาล ผู้ให้ข้อมูลเป็นนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 ที่ฝึกปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ เลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากบันทึกสะท้อนคิด ในระหว่างเดือนมีนาคม ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2563 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบ 3 ประเด็นหลักคือ 1) การฝึกปฏิบัติการพยาบาลช่วยให้นักศึกษาเข้าใจกระบวนการสูงอายุ ได้แก่ การรับรู้และเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจและสังคมในวัยสูงอายุ 2) มีความรู้สึกในเชิงบวกต่อการฝึกปฏิบัติการพยาบาล ได้แก่ ส่งเสริมความภาคภูมิใจและความพึงพอใจที่สร้างความสุขและรอยยิ้มให้กับผู้สูงอายุ และเพิ่มความมั่นใจและอบอุ่นใจ ต่อการฝึกปฏิบัติการพยาบาล 3) นักศึกษาได้รับการเตรียมความพร้อมก่อนการฝึกปฏิบัติการพยาบาลไม่เพียงพอ และขาดความมั่นใจในความรู้และความสามารถ และทักษะการซักประวัติ ซึ่งทำให้มีความวิตกกังวล เครียด และกลัวเพิ่มมากขึ้น ผลการศึกษาสะท้อนให้เห็นว่านักศึกษาพยาบาลสามารถเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฎีสู่การปฏิบัติ แต่ยังขาดความมั่นใจและขาดทักษะการปฏิบัติการพยาบาล ดังนั้นจำเป็นต้องเพิ่มความสามารถของนักศึกษาในทักษะด้านต่าง ๆ โดยการจัดประสบการณ์ให้นักศึกษาเผชิญสถานการณ์จริงหรือสถานการณ์จำลองในคลินิก เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาก่อนการฝึกปฏิบัติ
References
ปณดา เหล่าธนถาวร. (2561). ประสบการณ์ทางจิตใจในการทำวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาระดับปริญญาเอก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพ.
ภัททิยา จันทเวช. (2561). การเตรียมความพร้อมนักศึกษาพยาบาลเพื่อลดความเครียดในการฝึกปฏิบัติงานห้องคลอด. วารสารเกื้อการุณย์, 25(1), 184-191.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์, และสุภัทรา สีเสน่ห์. (2560). การพัฒนาโปรแกรมพัฒนาศักยภาพนักศึกษาพยาบาลด้านการประเมินผู้สูงอายุแบบองค์รวมผ่านการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 27(2), 168-180.
สมจิตต์ สินธุชัย, สุดา เดชพิทักษ์ศิริกุล, และปิยะรัตน์ หยกสุริยันต์. (2561). การสะท้อนคิดการปฏิบัติในการศึกษาทางพยาบาลศาสตร์. วารสารพยาบาลทหารบก. 19(2), 15-23.
สุภารัตน์ พิสัยพันธุ์, อนงค์ลักษณ์ วงศ์ตรี, และณัฐธยาน์ ชาบัวคำ. (2565). ความรู้และทัศนคติในการดูแลผู้สูงอายุของนักศึกษาพยาบาล. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 16(1), 325-342.
Bagnato, S., Dimonte, V., & Garrino, L. (2013). The reflective journal: A tool for enhancing experience-based learning in nursing students in clinical practice. Journal of Nursing Education and Practice. 3(3), 102-111.
Bjerkvik, L. K., & Hilli, Y. (2019). Reflective writing in undergraduate clinical nursing education: A literature review. Nurse Education in Practice. 35, 32–41.
Dahlke, S., Kalogirou, M. R., & Swoboda, N. L. (2020). Registered nurses’ reflections on their educational preparation to work with older people. International Journal of Older People Nursing. 1-11.
https://doi.org/10.1111/opn.12363
Dewey, J. (1933). How we think: A restatement of the relation of reflective thinking to the educative process. Boston, MA: D.C. Heath & Co Publishers.
Gibbs, G. (1988). Learning by doing: A guide to teaching and learning methods. Oxford: Further Educational Unit, Oxford Polytechnic.
González-García, M., Lana, A., Zurrón-Madera, P., Valcárcel-Álvarez, Y., & Fernández-Feito, A. (2020). Nursing students’ experiences of clinical practices in emergency and intensive care units. International Journal of Environmental Research and Public Health. 2-14.
http://dx.doi.org/10.3390/ijerph17165686
Guba, E. G., & Lincoln, Y. S. (1989). Fourth generation evaluation. Newbury Park, CA: Sage Publications.
Hammar, L. M., Holmstrom, I. K., Skoglund, K., Meranius, M. S., & Sundlere, A. J. (2017). The care of and communication with older people from the perspective of student nurses. A mixed method study. Nurse Education Today, 52, 1-6.
Jasper, M., & Rosser, M. (2013). Reflection and reflective practice. In Rosser, M., Mooney, G. P., & Jasper, M. (Eds). Professional development. reflection and decision making in nursing and Healthcare. Chichester: Wiley-Blackwell.
Levett-Jones, T., & Bourgeois, S. (2015). The clinical placement: An essential guide for nursing students. Sydney, Australia: N.S.W. Elsevier Australia.
Mattos, M. K., Jiang. Y., Seaman, J. B., Nilsen, M. L., Chasens, E. R., & Novosel, L. M. (2015). Baccalaureate nursing students’ knowledge of and attitudes toward older adults. Journal of Gerontological Nursing. 41(7), 46-56.
Mlinar Reljic, N., Pajnkihar, M., & Fekonja, Z. (2019). Self-reflection during first clinical practice: The experiences of nursing students. Nurse Education Today. 72, 61-66.
Naber, J., & Markley, L. (2017). A guide to nursing students’ written reflections for students and educators. Nurse Education in. Practice. 25, 1–4.
Naglaa, A., & Amal, I. (2015). Assessment of critical care nursing student’s stressor and coping strategies during clinical practice in intensive care and emergency units. Asian Academy of Management Journal. 13(4), 1-39.
Panteka, A. D., Koukourikos, K., & Pizirtzidou, E. (2014). The concept of self-esteem in nursing education and its impact on professional behavior. International Journal of Caring Sciences, 7(1), 6-11.
Sakamoto, R. R. (2022). Influence of “RAP” experiences on nursing students' career choices in aging: A qualitative exploration. Nurse Education Today. 109, 1-5.
Sun, F. K., Long, A., Tseng, Y. S., Huang, H. M., You, J. H., & Chiang, C. Y. (2016). Undergraduate student nurses’ lived experiences of anxiety during their first clinical practicum: A phenomenological study. Nurse Education Today. 37, 21–26.
Teskereci, G., & Boz, I. (2019). “I try to act like a nurse”: A phenomenological qualitative study. Nurse Education in Practice. 37, 39–44.
Westin, L., Sundler, A. J., & Berglund, M. (2015). Students’ experiences of learning in relation to didactic strategies during the first year of a nursing programme: A qualitative study. BMC Medical Education 15(49), 2-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล ซึ่งดำเนินการโดยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ข้อความที่ปรากฏในบทความในวารสารเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับกองบรรณาธิการวารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล หรือวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว